แนวทางการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการใหม่ของนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา

Main Article Content

นริศรา ทองยศ
ดาวรุวรรณ ถวิลการ
กนกอร สมปราชญ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการใหม่สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่รวมทั้งปัจจัยเกื้อหนุนกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความเป็นผู้ประกอบการใหม่สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Approaches) ด้วยการใช้แบบแผนรองรับภายใน (Embedded Design) แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการใหม่สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ยืนยันองค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ และศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความเป็นผู้ประกอบการใหม่ โดยการศึกษาจากกรณีศึกษา 3 สถาบันที่มีการปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ และการสนทนากลุ่ม (Group Discussion) เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบสังเกต แบบประเมินและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่า และ S.D.
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการใหม่สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การคิดสร้างสรรค์ 2) การสร้างนวัตกรรม 3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) การรู้ดิจิทัล 5) การมุ่งมั่นในความสำเร็จ และ 6) การกล้าเสี่ยง
2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ในสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี พบว่ามีการดำเนินการดังนี้ 1) การพัฒนา 7 องค์ประกอบหลักของความเป็นผู้ประกอบการใหม่ 2) การเพิ่มกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะในหลักสูตรเสริม 3) การส่งผู้เรียนอาชีวศึกษาไปฝึกงานหรือฝึกประสบการณ์ในองค์กรหรือสถานประกอบการที่ประสบผลสำเร็จ 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนอาชีวศึกษาเห็นความสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการใหม่ 5) การเพิ่มขีดความสามารถเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจส่วนปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความเป็นผู้ประกอบการใหม่สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งมีปัจจัยเกื้อหนุน 6 ปัจจัย และปัญหาอุปสรรค 5 ปัจจัย

Article Details

How to Cite
ทองยศ น. ., ถวิลการ ด. ., & สมปราชญ์ ก. (2022). แนวทางการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการใหม่ของนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 281–292. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/252066
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

โรจลักษณ์ จักรไพวงศ์ และ บรรพต วิรุณราช. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางธุรกิจแปรรูปการเกษตรไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 118-127.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนรองรับโลกศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). การจัดการอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

_______. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ทรัพย์สินทางปัญญากับ Thailand 4.0. เข้าถึงได้จาก https://www.worldgn-asia.com/article/84/ทรัพย์สินทางปัญญากับ-thailand-4-0

Kuip, I., & Verheul, I. (2003). Early development of entrepreneurial qualities: The role of initial education. SCALES-paper N200311. Zoetermeer: EIM Business and Policy Research.

Kuratko, D. F. and Hodgetts, R. M. (2004). Entrepreneurship: Theory, Process, Practice. (6th Ed.). Mason, Ohio: Thomson South-Western.

Kuratko, D. F. (2011). Entrepreneurship: Theory, Process, Practice, Entrepreneurship Theory, process and practice. Melbourne: Cengage Learning Australia.

Nathapon, P. (2017). Startup thinking to make rich. Bangkok: Momentum Publishing.

Sarasvathy, S. D., et al. (2003). Three views of entrepreneurial opportunity. In Z. Acs & D. Audretsch (Eds.), Handbook of entrepreneurship research: An interdisciplinary survey and introduction. (2nd ed.). New York: Springer Science + Business Media.

Schwarz, E. J., et al. (2009). The effects of attitudes and perceived environment conditions on students’ entrepreneurial intent: An Austrian perspective. Education and Training, 51(4), 272-291.

World Economic Forum Geneva. (2011). The Global Competitiveness Report 2011–2012. Switzerland: Columbia University.