บทบาทของพระสงฆ์กับการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองขอนแก่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 13 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์มีบทบาทในฐานะผู้นำในการวางรูปแบบและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยพระสงฆ์จะเป็นผู้ตระหนักต่อปัญหาและนำพาชาวบ้านลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและขยายผลออกไปสู่ชุมชนในระดับครัวเรือน บทบาทในการอบรมสั่งสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านหลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อทำให้ชาวบ้านรู้และเข้าใจปัญหาและนำไปปฏิบัติต่อครัวเรือนตนเอง การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนจะต้องมีการเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้พระสงฆ์กับชาวบ้านได้มีโอกาสทำงานร่วมกันและพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยจะต้องเปิดพื้นที่กลางให้วัด บ้าน พระสงฆ์ และชาวบ้านได้แลกเปลี่ยน พูดคุย และสนทนากันอย่างตรงไปตรงมาและหาแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
เจษฎา มูลยาพอ. (2556). การประยุกต์ใช้หลักคำสอนด้านนิเวศวิทยาในพระไตรปิฎกเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี. (รายงานการ
วิจัย). หนองคาย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย.
พระครูสังฆรักษ์ประจวบ วุฑฺฒิจารี และ วีรธรรม ปัญจขันธ์. (2562). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 101-119.
พุทธรักษ์ ปราบนอก. (2562). ปัญหาภาวะโลกร้อนของวัดในพุทธศาสนา. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(2), 163-175.
พุทธรักษ์ ปราบนอก และคณะ. (2563). ตัวแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดในภาคอีสาน. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(3), 132-161.
Crutzen, P. J. (2006). The “Anthropocene”. In Ehlers, E., Krafft, T (Ed.). Earth system science in the anthropocene (pp. 13-18). Berlin: Springer.
Daniels, P. L. (2010). Climate change, economics and Buddhism—Part 2: New views and practices for sustainable world economies. Ecological Economics, 69(5), 962-972.
_______. (2011). Buddhism and sustainable consumption. In Zsolnai, L. (Ed.). Ethical Principles and Economic Transformation-A Buddhist Approach (pp. 35-60). Dordrecht: Springer.
Glassman, J. & Sneddon, C. (2003). Chiang Mai and Khon Kaen as growth poles: regional industrial development in Thailand and its implications for urban sustainability. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 590(1), 93-115.
Hagan, F. E. (2006). Research Methods in Criminal Justice and Criminology. (7th ed.). Boston, MA: Allyn and Bacon.
Henning, D. H. (1998). Buddhism and Deep Ecology: protection of spiritual and cultural values for natural tropical forests in Asia. In Personal, societal, and ecological values of wilderness: Proceedings of the Sixth World Wilderness Congress (pp. 108-112). United States: Department of Agriculture Forest Service.
Roof, K. & Oleru, N. (2008). Public health: Seattle and King County’s push for the built environment. Journal of environmental health, 71(1), 24-27.
Setchell, C. A. (1995). The growing environmental crisis in the world's mega cities: the case of Bangkok. Third World Planning Review, 17(1), 1-18.
Sudhipongpracha, T. & Dahiya, B. (2019). City Profile: Khon Kaen, Thailand. Environment and Urbanization ASIA, 10(2), 271-289.
Thongyou, M., Chamaratana, T., Phongsiri, M., & Sosamphanh, B. (2014). Perceptions on urbanization impact on the hinterlands: A study of Khon Kaen city, Thailand. Asian Social Science, 10(11), 33-41.
UNDP. (1991). Cities, People and Powny; Urban Dewlopment Cooperation for tile 1990s. New York: UNDP.
Weick, K. E. (1995). Sensemaking in Organizations. Thousand Oaks, CA: Sage.