รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติในการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา เป็นการวิจัยผสมผสานวิธี ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 96 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ในการศึกษาปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 640 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ในการศึกษาปัจจัยทางการบริหาร ประสิทธิผลของสถานศึกษา และการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ในการจัดทำและการประเมินข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสอบถาม แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ และค่าดัชนีความสอดคล้อง SRMR, RMSEA, TLI, CFI
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านพฤติกรรมการบริหาร รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหาร และด้านบรรยากาศของสถานศึกษา
2. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา พบว่า ค่าไคสแควร์มีค่า 229.989 องศาอิสระเท่ากับ 109 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์มีค่า 2.110 ค่าดัชนี SRMR มีค่า 0.043 ค่าดัชนี RMSEA มีค่า 0.050 ค่าดัชนี TLI มีค่า 0.946 ค่าดัชนี CFI มีค่า 0.957 แสดงว่าโมเดลที่ได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ในการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์นโยบาย ข้อเสนอเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหาร พฤติกรรมการบริหาร และบรรยากาศของสถานศึกษา ผลการประเมินข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ พบว่า มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ระดับมากขึ้นไปทุกด้าน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
จันทนา แสนสุข. (2557). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 34-46.
ชรินรัตน์ จิตตสุโภ. (2560). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธนัญญพัฒน์ ฤาชา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชระ ภูติวณิชย์ และคุณวุฒิ คนฉลาด. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 107-119.
ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยทีส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2008). Educational administration theory-research practice. (8th ed.). Singapore: McGraw-Hill.