การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครู ด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่านตามแนวทางนานาชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครู ด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่าน ตามแนวทางนานาชาติ 2) สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่าน ตามแนวทางนานาชาติ และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมองค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครู ด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่านตามแนวทางนานาชาติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลศึกษาความต้องการจำเป็นคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 397 คน
และผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสม จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบตรวจสอบความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่านตามแนวทางนานาชาติ มีค่า PNIModified = 0.76
2. รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่านตามแนวทางนานาชาติ มีองค์ประกอบสำคัญ 7 ด้านคือ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ กิจกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งมีกรอบสมรรถนะแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ โดยในแต่ละด้านมี 6 ตัวชี้วัด ทั้งนี้กิจกรรมการฝึกอบรมของรูปแบบมี 6 ขั้น คือ ทบทวนความรู้ ชี้แนะแนวทาง นำเสนอเนื้อหา เรียนรู้สู่ทักษะ ส่งเสริมการนำไปใช้ และสรุปการเรียนรู้
3 องค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้การอ่านตามแนวทางนานาชาติ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.96, S.D. = 0.18)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กัลย์วิสาข์ ธาราวร. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นของครู เพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชิต ฤทธิจรูญ และคณะ. (2553). การวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2562). ผลการประเมิน PISA 2018: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กาฬสินธุ์: ประสาน.
สมภัสสร บัวรอด และกรองทอง พิพิธทพงษ์. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูตามการรับรู้ของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง โรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย, 1 มีนาคม 2560. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การพัฒนาการศึกษานานาชาติ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2546). เรียนรู้คู่วิจัย: กรณีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยภาคสนาม วิชาการศึกษากับสังคมคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกภูมิ จันทรขันตี, ชาตรี ฝ่ายคำตา และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2555). การศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี: รายวิชาการสังเกตและปฏิบัติงานครู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 31(2), 150-165.
Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2009). Curriculum: foundations, principles, and issues. (5th ed). Boston: Pearson.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Tyler, R. W. (1968). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.