การพัฒนาสมรรถนะขั้นสูงของนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้บทเรียนข้ามสาระเชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์สู่การประเมินค่าชิ้นงานผ่านระบบ Online และ Onsite

Main Article Content

ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะขั้นสูงของนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้บทเรียนข้ามสาระเชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์ สู่การประเมินค่าชิ้นงานผ่านระบบ Online และ Onsite ที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพในระดับมากขึ้นไป และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้บทเรียนข้ามสาระเชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์สู่การประเมินค่าชิ้นงาน ผ่านระบบ Online และ Onsite เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ตามแบบแผนการวิจัยทดลองเบื้องต้น แบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตที่เรียนรายวิชา ED 22301 ปฏิบัติการวิชาชีพระหว่างเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบประเมินสมรรถนะ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการแปลผลคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะขั้นสูงของนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้บทเรียนข้ามสาระเชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์สู่การประเมินค่าชิ้นงานผ่านระบบ Online และ Onsite คุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.44, S.D. = 0.31) บรรลุผลตามเกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้บทเรียนข้ามสาระเชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์สู่การประเมินค่าชิ้นงาน ผ่านระบบ Online และ Onsite คุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.79, S.D. = 0.41) บรรลุผลตามเกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
ชุ่มนาเสียว ไ. ., & ดวงคำน้อย แ. . (2022). การพัฒนาสมรรถนะขั้นสูงของนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้บทเรียนข้ามสาระเชื่อมโยงทักษะการคิดวิเคราะห์สู่การประเมินค่าชิ้นงานผ่านระบบ Online และ Onsite. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 323–334. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/254091
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2550). การวิจัยเชิงทดลอง เอกสารการเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนาธิป พรกุล. (2561). กระบวนการสร้างความรู้ของครูกรณีการสอนบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาธิป อุปถัมภ์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษาจากการบรรยายแบบประเพณีโบราณสู่การสอนแบบไม่สอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลมินปภา อภิวัฒนางกูล. (2564). การพัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยให้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Damanpour, F., and Gopalakrishman, S. (2001). The Dynamics of the Adoption of Product and Process Innovations in Organizations. Journal of Management Studies, 38(1), 45-65.

Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of leaching. (5th ed.). London: Allyn and Bacon.

Likert, R. (1970). Teaching for the measurement of attitudes. In G.F. Summer (Ed.) Attitudes measurement. New York: Rand Me Nally.

Paladino, A. (2006). Understanding the Drivers of Corporate Performance and Customer Value. In A Manzoni, Jean-Francois and Piscataway, Marc, Epstein (eds.). Performance Measurement and Management Control: Improving Organizations and Society. NJ: Elsevier Science.