การใช้กระดานดำแบบญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้กระดานดำแบบญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน และทีมการศึกษาชั้นเรียนจำนวน 5 คนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของรัฐแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 10 สัปดาห์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกวิธีปฏิบัติการสอน การบันทึกวีดีทัศน์ การบันทึกภาพนิ่ง และผลงานของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์วีดีทัศน์ร่วมกับวิเคราะห์โพรโทคอล และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ทีมการศึกษาชั้นเรียนร่วมกันออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการใช้กระดานดำแบบญี่ปุ่นที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน ดังนี้ 1) พื้นที่ด้านซ้าย: ครูใช้ทบทวนบทเรียนหรือติดรูปภาพสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดรวมถึงเงื่อนไขและกติกาที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียนโดยเป็นการแสดงแทนเชิงรูปธรรม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและรับมาเป็นปัญหาของตน 2) พื้นที่ตรงกลาง: ครูใช้ติดสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด คำสั่งของกิจกรรม และนำเสนอแนวคิดของนักเรียนตามการคาดการณ์ โดยคำนึงถึงการใช้สื่อเสริมในฐานะสื่อกึ่งรูปธรรม ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง และซองเงื่อนไข สำหรับการขยายและเชื่อมโยงแนวคิดที่หลากหลายของนักเรียนในแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการอภิปรายร่วมกับการใช้คำถามของครูและช่วยกระตุ้นการคิดของนักเรียนทั้งชั้นเรียน และ 3) พื้นที่ด้านขวา: ครูใช้สรุปขั้นตอนการแก้ปัญหาและการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียนผ่านการอภิปรายร่วมกันทั้งชั้นเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การแสดงเชิงนามธรรม ประกอบด้วย การคิดแบบลำดับขั้นตอน การคิดแบบมีเงื่อนไข และการคิดแบบวนซ้ำจนเกิดเป็นเครื่องมือเชิงความรู้ของผู้เรียนเพื่อใช้ในคาบต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
ไกรลาส มาตรมูล และคณะ. (2565). การกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของบทเรียนจากแนวคิดเชิงคำนวณของนักเรียนผ่านการศึกษาชั้นเรียน: ขั้นสร้างแผนจัดการเรียนรู้ร่วมกัน. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 164-179.
ไกรลาส มาตรมูล, พิชิตชัย ปิมแปง เเละเทพธิทัต เขียวคำ. (2566). การใช้การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในการเขียนโปรแกรมเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนผ่านกิจกรรมแบบ Unplugged: เน้นขั้นการสอนและการสังเกตชั้นเรียนร่วมกันโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2).
ชูศักดิ์ อุดอิ่นแก้ว และเจนสมุทร แสงพันธ์. (2556). การใช้กระดานดำแบบญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกัน ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่สอนด้วยวิธีการแบบเปิด. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 26(1), 91-108.
เริงนภา อำทะวงษ์, เกียรติ แสงอรุณ และสัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแนวคิดของนักเรียนในการปฏิบัติการสอนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด เพื่อเรียนรู้แนวคิดของนักเรียน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(2), 97-112.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุภารัตน์ คาระวะ และสัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2564). กระบวนการมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 81-92.
Baldry, F., et al. (2023). The use of carefully planned board work to support the productive discussion of multiple student responses in a Japanese problem-solving lesson. Journal of Mathematics Teacher Education, 26, 129-153.
Brennan, K., and Resnick, M. (2012). New Frameworks for Studying and Assessing the Development of Computational Thinking. In Proceedings of the 2012 Annual Meeting of the American Educational Research Association, April 2012, 25 (pp. 1-25). Canada: Vancouver, BC.
Inprasitha, M. (2022). Lesson study and open approach development in Thailand: a longitudinal study. International Journal for Lesson and Learning Studies, 11(5), 1-15.
Kuehnert, E. R., et al. (2018). Bansho: visually sequencing mathematical ideas. Teaching Children Mathematics, 24(6), 362-369.
Ninomiya, H. (2010). Board Writing and Teaching Hot to Write Note. In M. Isoda, and T. Nakamura. (Eds.), Special Issue (EARCOME 5) Mathematics Education Theories for Lesson Study: Problem Solving Approach and the Curriculum through Extension and Integration (p. 1). Tokyo: Bunshoudo Insatusho.
Threekunprapa, A. and Yasri, P. (2020). Unplugged Coding Using Flowblocks for Promoting Computational Thinking and Programming among Secondary School Students. International Journal of Instruction, 13(3), 207-222.
Yoshida, M. (2005). Using lesson study to develop effective blackboard practice. In P. Wang-Iverson & M. Yoshida (Eds.), Building our understanding of lesson study (pp. 93-100). USA: Research for Better Schools, Inc.