ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชนเขาฉกรรจ์ ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) กลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 4 คน 2) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลเขาฉกรรจ์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านพรสวรรค์ จำนวน 25 คน และวิสาหกิจชุมชนอยู่เป็นสุขบ้านสันติสุข@เขาฉกรรจ์ จำนวน 25 คน รวม 54 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โครงการที่ดำเนินการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 85,006 บาท ส่วนอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางสังคมเป็นจำนวน 2.27 เท่าหมายความว่าการลงทุนทุกๆ 1 บาท อัตราผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน (IRR) เท่ากับ 7.6%
2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.90, S.D. = 0.78)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จันทร์ทิพย์ ไพเพอร์ และคณะ. (2565). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชนรอบเขื่อนสิริกิติ์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 1942-1955.
นิติกร พงษ์ไพบูลย์ และวิสาขา ภู่จินดา. (2562). ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ในโครงการสามพรานโมเดล. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4), 137-154.
ประพิธาริ์ ธนารักษ์ และศักย์ชัย เพชรสุวรรณ. (2562). การประเมินผลตอบแทนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมจกการลงทุนของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(1), 41-54.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). VRU success story 2019-2022 เรื่องเล่าความสำเร็จโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระแก้ว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
เศรษฐภูมิ บัวทอง, เกศกุล สระกวี และบุญฤทธิ์ พานิชเจริญ. (2564). คู่มือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.