กลยุทธ์การบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7 และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร และบุคลากรสายปฏิบัติ จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงของเนื้อหาระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการจัดลำดับความต้องการจำเป็น PNI modified
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็น มาเรียงลำดับ พบว่า 1) ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน 2) ด้านการตอบสนองความต้องการ 3) ด้านการตรวจสอบได้ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 5) ด้านการทำงานเป็นทีม
2. กลยุทธ์การบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพ มี 5 กลยุทธ์ 24 มาตรการ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 มุ่งมั่นในการทำงานมี 8 มาตรการ 8 ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 2 การตอบสนองความต้องการ มี 4 มาตรการ 4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 3 การตรวจสอบได้มี 3 มาตรการ 3 ตัวชี้วัดความสำเร็จกลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องมี 5 มาตรการ 5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 5 การทำงานเป็นทีมมี 4 มาตรการ 4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
3. การประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7 มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธานี ขามชัย. (2560). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน: ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 163-189.
มนัสชญาน์ โรมิมทร์, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพรทิพย์ กีระพงษ์. (2562). คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้มารับบริการที่แผนกส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลกระบี่นครินทร์ อินเตอร์เนชั่นแนล. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(4), 13-26.
มะลิวรรณ อังคณิตย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาลโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 107-116.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).
สรวัชร์ สุดแก้ว. (2563). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัญญา มีสามเสน, วรุณี เชาวน์สุขุม และบุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2556). คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(1), 35-47.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bithner, M. J. (1992). Service space: The impact of physical surroundings on customer and employees. Journal of marketing, 56(21), 57-72.
Witkin, B. R. and Altschuld, J. W. (1995). Planning and Conducting needs assessments. A practical guide. Thounsand Osk, CA: Sage Publication, Inc.