การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหนังสือภาพการ์ตูน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหนังสือภาพการ์ตูนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงสํารวจโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ครูระดับประถมศึกษาโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย จำนวน 2 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการศึกษาข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจําเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือภาพการ์ตูน แบบประเมิน Storyboard และแบบประเมินความต้องการจำเป็น สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified) พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.64 โดยสามารถจัดลำดับความต้องการจำเป็นใน 3 ลำดับแรกคือ (1) การจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความมีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีค่าดัชนีที่แสดงว่าสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพน้อยกว่าสภาพที่คาดหวัง (2) ผู้เรียนสามารถอ่านได้อย่างเข้าใจมีค่าดัชนีที่แสดงว่าสภาพที่เป็นจริงทางความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยได้อย่างเข้าใจ มีประสิทธิภาพน้อยกว่าสภาพที่คาดหวัง และ (3) ผู้เรียนสามารถอ่านจับใจความได้การใช้สื่อกระตุ้น มีค่าดัชนีที่แสดงว่าอ่านได้อย่างเข้าใจและอ่านจับใจความได้ ตามลำดับ 2) การประเมินความเหมาะสม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.30) เมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบรูปภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.76, S.D. = 0.22) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.73, S.D. = 0.24) ด้านการออกแบบภาพรวม และด้านการใช้ภาษา อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.66, S.D. = 0.40) และ (
= 4.63, S.D. = 0.24) ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านการออกแบบ โครงเรื่อง อยู่ในระดับมาก (
= 4.88, S.D. = 0.78)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วย การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
นิดาริน จุลวรรณ. (2562). ปัญหาการอ่านออกเสียงคําในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในชีวิตประจําวัน โรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกํากับการที่ 43 อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ใน อมรศักดิ์ สวัสดี, เจษฎา มิ่งฉาย และอภิรักษ์ สงรักษ์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติวิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2, 15-16 สิงหาคม 2562 (หน้า 1-13). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
เมตตา บุญยะศรี. (2552). การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ฤทัยรัตน์ อยู่จันทร์. (2554). การพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สรรชัย ศรีสุข. (2530). การเปรียบเทียบองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมเกม นิทานและปริศนาคำทายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุนทรี คุณา, สนิท สัตโยภาส และโกชัย สาริกบุตร. (2558). ได้ศึกษาการสร้างหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ชุดวิถีชีวิตล้านนาสําหรับผู้เรียนภาษาไทยแบบข้ามวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาปีที่ 6. พิฆเนศวรสาร, 11(1), 99-113. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/98139
อภิสรา โชติภาภรณ์. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการเรียนในยุคประชาคมอาเซียนของผู้เรียนโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Best, J. W. (1986). Research in Education. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.