การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย

Main Article Content

ประสิตา มานิมนต์
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และ 2) พัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ปีการศึกษา 2567 จำนวน 36 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการคือ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 4.63 4.77 และ 4.83 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติการ ได้แก่ (1) แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ (2) แบบสังเกตชั้นเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบท้ายวงจรการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วงจรปฏิบัติการที่ 1-3 มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.50-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.50-0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26-0.45 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 (4) แบบประเมินสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจรปฏิบัติการ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.50-1.00 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์แบบอัตนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผู้วิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้น เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นหาปัญหาด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการระดมความคิดร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียประกอบการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนร้อยละ 83.33 มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ 81.53 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนร้อยละ 100 มีสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์ในระดับสามารถ คิดเป็นร้อยละ 88.10 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

How to Cite
มานิมนต์ ป. ., & ดวงวิไล ด. . (2025). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 25(1), 313–326. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/277639
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

การุณันทน์ รัตนแสนวงษ.์ (2548). ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

ชุติลัค ชุ่มเย็น. (2565). การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บงกช ทองเอี่ยม, ฐิตินันท์ ธีรเวชเจริญชัย, สิริมงคล สุวรรณผา และอโนชา ถิรธำรง. (2565). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 24(1), 158-169. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/259464/174527

ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 14-31. https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/20/articles/381

ลิขิต ธีรเวคิน. (2556). ความถูกต้องตามกฎหมาย ความชอบธรรมทางการเมือง และธรรมแห่งอำนาจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกิจวัฒน์ จันทร์ดี. (2559). คู่มือออกแบบการสอนในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย.์ (2562). สอนสร้างสรรค์เรียนสนุกยุค 4.0. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดดูเคชัน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2559). การเขียนเชิงสร้างสรรค์. อุดรธานี: พิมพลักษณ์.

อารีย์ นัยพินิจ, ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการราชภัฎสงขลา, 7(1), 1-11.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

Shabalina, O., Mozelius, P., Malliarakis, C., & Tomos, F. (2015). Creativity-based learning versus game-based learning. Creativity in intelligent technologies and data science, 535, 720-733. https://doi.org/10.1007/978-3-319-23766-6_53

Sun, Y. (2022). Coordinated development of children's art skills and creativity based on human-computer interaction technology. Forthcoming Networks and Sustainability in the IoT Era, 129, 50-57. https://doi.org/10.1007/978-3-030-93413-2_14