การหลอกลวงทางดิจิทัล: การสำรวจช่องโหว่ทางสังคมต่อการถูกหลอกลวงและการฉ้อโกงออนไลน์

Main Article Content

สัณฐาน ชยนนท์
ตฤณห์ โพธิ์รักษา
สิริพร ฑิตะลำพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการหลอกลวงทางดิจิทัล: การสำรวจช่องโหว่ทางสังคมต่อการถูกหลอกลวงและการฉ้อโกงออนไลน์ และ 2) นำเสนอรูปแบบการแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงทางดิจิทัลและการฉ้อโกงออนไลน์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. การหลอกลวงทางดิจิทัล: การสำรวจช่องโหว่ทางสังคมต่อการถูกหลอกลวงและการฉ้อโกงออนไลน์ มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ด้านดิจิทัล การตระหนักรู้ ความเชื่อมั่น ความวิตกกังวลและปฏิกิริยาตอบกลับทางดิจิทัล การถูกหลอกลวงทางดิจิทัล อิทธิพลจากเพื่อนหรือคนรอบข้าง ช่องโหว่ทางสังคม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่าด้านความรู้ด้านดิจิทัล การตระหนักรู้ และความรู้ไม่เท่าทัน ทำให้คนมีโอกาสถูกหลอกลวงทางออนไลน์มากขึ้น และเห็นว่ากลุ่มผู้มีความรู้ไม่เท่าทันกระบวนการ ขาดสติหรือมีความรู้ทางดิจิทัลและเทคโนโลยีน้อยมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะช่องโหว่ทางสังคม การขาดความตระหนักรู้ และขาดความรู้ทางด้านดิจิทัลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหลอกลวงทางดิจิทัล
2. รูปแบบการแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงทางดิจิทัลและการฉ้อโกงออนไลน์ คือ “ศ.ร.ป.พ.ก.ส.” ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงออนไลน์อย่างเป็นระบบ โดยประกอบด้วย ศ. (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน) เพื่อให้สามารถแจ้งเหตุได้สะดวกและรวดเร็ว ร. (เร่งดำเนินการติดตามเงินและจับกุมผู้กระทำผิด) อย่างเด็ดขาด ป. (ปิดกั้นช่องทางเข้าออกตามแนวชายแดนกัมพูชาและเมียนมา) เพื่อลดการหลบหนีของกลุ่มมิจฉาชีพ พ. (พัฒนาระบบความปลอดภัยของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และธนาคาร) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ก. (การออกกฎหมายที่ให้ธนาคารและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รับผิดชอบร่วมกับเหยื่อ) โดยใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และ ส. (สร้างการตระหนักรู้และมาตรการป้องกัน) ผ่านการเผยแพร่ข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครอบครัวและชุมชน การศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดนโยบายของภาครัฐและการพัฒนาแนวทางป้องกันของภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และสถาบันการเงิน เพื่อสร้างเกราะป้องกันการฉ้อโกงออนไลน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ชยนนท์ ส., โพธิ์รักษา ต., & ฑิตะลำพูน ส. (2025). การหลอกลวงทางดิจิทัล: การสำรวจช่องโหว่ทางสังคมต่อการถูกหลอกลวงและการฉ้อโกงออนไลน์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 25(1), 357–370. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/281331
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (2562). การบริหารจัดการด้านความมั่นคงพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2566). แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธน หาพิพัฒน์. (2567). สถานการณ์การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15-79 ปีไปทั่วทุกภูมภาคของประเทศ. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฏิพล วงศ์ศรีกุล. (2565). อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.interriskthai.co.th/th/cybercrime-in-thailand/

สำนักข่าวทูเดย์. (2566). “อาชญากรรมทางไซเบอร์” ที่คนไทยตกเป็นเหยื่อมากที่สุด. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/news-182/

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2566). เตือนภัยออนไลน์.com. เข้าถึงได้จาก https://pctpr.police.go.th/home.php

Bangkok Bank InnoHub. (2565). อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber Crime) ภัยคุกคามตัวร้ายในโลกยุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbankinnohub.com/th/what-is-cyber-crime/

Chen, S., Hao, M., Ding, F., Jiang, D., Dong, J., Zhang, S., & Gao, C. (2023). Exploring the global geography of cybercrime and its driving forces. International Journal of Engineering Research and Applications (IJERA), 10(71), 1-10. https://doi.org/10.1057/s41599-023-01560-x

Cremer, F., Sheehan, B., Fortman, M., Kia, A. N., Mullins, M., Murphy, F., & Materne, S. (2022). Cyber risk and cybersecurity: a systematic review of data availability. The Geneva Papers on Risk and Insurance - Issues and Practice, 47(3), 698-736. https://doi.org/10.1057/s41288-022-00266-6

Ifenthaler, D., Cooper, M., Daniela, L., Sahin, M. (2023). Social anxiety in digital learning environments: an international perspective and call to action. Int J Educ Technol High Educ, 20, 50. https://doi.org/10.1186/s41239-023-00419-0

Pink, S., Lanzeni, D., & Horst, H. (2018). Data anxieties: Finding trust in everyday digital mess. Big Data & Society, 5(1), 1-14. https://doi.org/10.1177/2053951718756685

UN. Office of the High Commissioner for Human Rights. (2023). Online Scam Operations and Trafficking into Forced Criminality in Southeast Asia: Recommendations for a Human Rights Response. Bangkok: United Nations.