บทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธนเศรษฐ์ ชมก้อน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔๔ คน ครูผู้สอน จำนวน ๒๕๔ คน รวมทั้งสิ้น ๒๙๘ คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. บทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ๑) ด้านการจัดกิจกรรมรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา ๒) ด้านการบริหารงานสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา๓) ด้านการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา และ ๔) ด้านการร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม บทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อม จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา เห็นว่าด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารงานสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา รองลงมาด้านการจัดกิจกรรมรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด คือ ด้านการร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนครูผู้สอน เห็นว่าด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา รองลงมา ด้านการร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด คือด้านการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

๒. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และผู้บริหารและครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

๓. ข้อเสนอแนะในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา คือผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ มีการวางแผนและกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างจริงจัง และควรส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชน มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุง การจัดสิ่งแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ เพื่อทำให้สถานศึกษาเป็นสถานศึกษาที่น่าอยู่ต่อไป

Article Details

How to Cite
ชมก้อน ธ. (2015). บทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. Dhammathas Academic Journal, 15(2), 19–25. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/75915
Section
บทความวิจัย (Research Article)