วิเคราะห์การใช้หลักอินทรียภาวนาสูตรเพื่อการดูแลสุขภาพ
Main Article Content
Abstract
สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและหลักอินทรียภาวนาสูตร และวิเคราะห์การใช้หลักอินทรียภาวนาสูตรเพื่อการดูแลสุขภาพ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักอินทรียภาวนาสูตรเพื่อป้องกันโรคทางพระพุทธศาสนา เกิดจาการยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งมีผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรมด้วย เพราะทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า กายกับจิตมีความสัมพันธ์กัน แม้กิเลสตัณหาชนิดต่างๆ ที่ครอบงำจิตใจ ก็ถือว่า เป็นโรคทางใจแล้ว นอกจากจะทำให้จิตของผู้ป่วยผิดปกติแล้ว ยังส่งผลต่อร่างกายได้อีกด้วย ตลอดถึงคนรอบข้างด้วย นอกจากจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันแล้ว
การใช้หลักอินทรียภาวนาสูตรเพื่อบำบัดโรค ก็คือ เป็นการฝึกฝนจิตให้รู้จักสำรวมระวัง และป้องกันอันตรายที่เกิดจากกิเลสตัณหา จากการใช้อินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยที่ทำให้มีมีความยินดียินร้ายเกิดขึ้นในอารมณ์มากมาย เป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมอง จึงต้องอาศัยควบคุมอินทรีย์ต่างๆ ด้วยสติสัมปชัญญะที่พร้อมอยู่เสมอเมื่อรับรู้อารมณ์ ไม่ปล่อยจิตไปตามกระแสของสิ่งมัวเมา และถูกครอบงำจากความโลภ ความโกรธ และความหลงโดยมีการฝึกฝนอบรมสติให้เข้มแข็งและรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ปลอดภัยจากกิเลสตัณหาและบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย การใช้หลักอินทรียภาวนาสูตรเพื่อป้องกันโรค เป็นการเน้นการให้มนุษย์ใช้ปัญญาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้แนวทางการพัฒนาของอินทรีย์สังวรและการประมาณในการบริโภคนี้ เป็นการขัดเกลากิเลสในขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ทั้งหลาย เพราะมนุษย์ทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับกับปัจจัย ๔ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประมาณในการบริโภคทำพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วยArticle Details
How to Cite
(พรมสิทธิ์) พ. ส. (2015). วิเคราะห์การใช้หลักอินทรียภาวนาสูตรเพื่อการดูแลสุขภาพ. Dhammathas Academic Journal, 15(2), 27–36. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/75997
Section
บทความวิจัย (Research Article)
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์