แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

Main Article Content

ภัทรธิดา พิเคราะห์แน่

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร จำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา และประสบการณ์การทำงานร่วมถึงศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ประกอบด้วย จำนวน ๑๘๓ คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane และวิธีการสุ่มอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Ratting scale) มีความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๔ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent sample) และ F-test (One Way ANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ระดับมากทั้งหมด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน การปกครองบังคับบัญชา ความรับผิดชอบเงินเดือน การยอมรับนับถือ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ลักษณะของงานที่ทำ นโยบายและการบริหารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ตามลำดับ

๒. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา และประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ดังนี้ ควรมอบรางวัลสำเร็จผู้ที่มีผลงานการปฏิบัติที่โดเด่นส่งเสริมการการออกชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับจากประชาชนมอบหมายงานควรคำนึงถึงขีดความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก กระจายความรับผิดชอบให้บุคลากรอย่างเหมาะสมและยุติธรรมส่งเสริมบุคลากรให้มีโอกาสได้รับความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพราชการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรที่มิใช่ข้าราชการนโยบายการบริหารควรเน้นที่ผลงานของบุคลากร มากกว่าการเน้นวิธีการทำงานและจัดสภาพแวดล้อมให้ดูรื่นเริง สวยงามประทับใจ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)