รูปแบบที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนระดับอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาและเพื่อกำหนดรูปแบบที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนระดับอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย รองผู้อำนวยการวิทยาลัย/ฝ่ายกิจการนักเรียน หัวหน้าแผนกกิจกรรมนักเรียน หัวหน้าสาขางานในสถานศึกษา ครู/อาจารย์ จำนวน ๒๒๗ คน ซึ่งเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ๑๒ คน ได้เลือกแบบเจาะจง จาก ๔ วิทยาลัย ที่ปฏิบัติดีเลิศ การวิจัยแบ่งเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ขั้นตอนที่ ๒ ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ สภาพปัจจุบันและปัญญาหาการบริหารจัดการกิจกรรม ขั้นตอนที่ ๓ ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรม ขั้นตอนที่ ๔ ตรวจสอบยืนยัน กลั่นกรอง และปรับปรุงรูปแบบเบื้องต้นที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยการจัดอภิปลายกลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ และขั้นตอนที่ ๕ สรุปผลการวิจัย เขียนรายงาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพปฏิบัติการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนระดับอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการคุณธรรมจริยธรรม และด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ส่วนสภาพปัญหาทั้งในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับน้อย โดยรายด้านเรียงจากลำดับจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน การบริหารจัดการคุณธรรมจริยธรรม และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๒. รูปแบบที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนระดับอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ที่ได้สร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์นั้น ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๙ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาเอกชนเกิดคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือความมีวินัยและความซื่อสัตย์ มีชื่อเสียงระดับอาชีวศึกษาเอกชน เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนำคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสู่อาเซียน โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูและบุคลากรมืออาชีพ” พร้อมทั้งพันธกิจ ๙ ข้อ เป้าประสงค์ ๙ ข้อ องค์ประกอบ ๔ ประการ ๗ โครงการ/กิจกรรมหลัก และ ๓๑ กิจกรรมย่อย/ตัวบ่งชี้