แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและปัญหาการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย เพื่อพัฒนาแนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต ๒ จำนวน ๑๓๖ คน และกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจาก โรงเรียนหนองขามวิทยาและโรงเรียนบ้านหนองฮาง กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต ๒ จำนวน ๑๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สภาพการปฏิบัติและปัญหาการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย เครื่องมือทั้งหมดมีคุณภาพค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง ๐.๘๐-๑.๐๐ และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๕๗ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าร้อยละ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่า (α-coefficient) ด้วยวิธีของครอนบัค (Cronbach) ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (ค่า IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิและมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการศึกษาสภาพ และปัญหาแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต เขต ๒ พบว่า สภาพการปฏิบัติแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมา ได้แก่ด้านกระบวนการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนปฐมวัย และด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัยปัญหาแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ส่วนด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมา ได้แก่ด้านกระบวนการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักเรียนปฐมวัย และด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
๒. แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย กลุ่มเครือข่ายหนองขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ องค์ประกอบด้วย๓ ด้านคือ ๑) ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย ประกอบด้วย ความมีวินัยและความรับผิดชอบ ๒) ด้านกระบวนการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนปฐมวัย ประกอบด้วย กิจกรรมเสรี กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง และ กิจกรรมเกมการศึกษา และ ๓) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการวางแผนกำหนดทิศทางและเป้าหมาย การปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนด การกำกับ ติดตามการปฏิบัติงาน และ การประเมินผลการปฏิบัติงาน