การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔

Main Article Content

พิมพ์ใจ โนนธิง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการ ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา ๓) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔๗ คน และครูผู้สอน จำนวน ๒๔๙ คน รวมทั้งสิ้น ๒๙๖ คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๘๗ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบด้วยค่าที (t-test independent sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ one - way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe, method)       

ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีการปฏิบัติเรียงลำดับจากมากไปน้อย : ด้านการบริหารตามหลักกรุณา ด้านการบริหารตามหลักเมตตา ด้านการบริหารตามหลักอุเบกขา และด้านการบริหารตามหลักมุทิตา ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑ โดยผู้บริหารสถานศึกษา   มีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑ โดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีการปฏิบัติมากกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก

แนวทางในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีเมตตา คือมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่สร้างความแตกแยก ช่วยแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมงาน มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน กรุณาคือผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกการให้การช่วยเหลืองานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ชุมชน สังคม อย่างจริงจัง จริงใจ ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ให้กำลังใจต่อเพื่อนร่วมงานด้วยใจบริสุทธิ์ และยุติธรรม มุทิตา คือผู้บริหารสถานศึกษาต้องแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่พูดจาว่าร้ายให้ผู้อื่นเสียหาย และอุเบกขา คือผู้บริหารสถานศึกษาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพ ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองตามศักยภาพ ไม่มีอคติต่อเพื่อนร่วมงาน วางตัวเป็นกลาง ควรพิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญา มีเหตุผล ถูกต้องและเที่ยงธรรมไม่เอนเอียง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าๆ กันทุกคน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และวางตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่งของตนและเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม

Article Details

How to Cite
โนนธิง พ. (2015). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔. Dhammathas Academic Journal, 15(1), 135–142. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/76093
Section
บทความวิจัย (Research Article)