รูปแบบการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ กระจายเสียงในจังหวัดมหาสารคาม ๒) เพื่อศึกษาการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงพุทธและพุทธวิธีการสื่อสาร และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการสื่อสารเชิงพุทธในการประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาและข้อมูลจากสถานีวิทยุในจังหวัดมหาสารคาม ๙ แห่ง มีกลุ่มพระสงฆ์ ข้าราชการ ชาวบ้าน นักเรียนนักศึกษาและกลุ่มเยาวชน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดมหาสารคามนั้น เกิดจากโฆษกนักจัดรายการวิทยุ (Radio Broadcasters) บางคนหรือบางสถานี ไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการสื่อสารประชาสัมพันธ์และขาดประสบการณ์ ไม่มีทักษะความชำนาญในการจัดรายการวิทยุ สภาพปัญหา คือ (๑) การโฆษณาเกินความเป็นจริง (๒) การใช้คำพูดที่อาจสร้างความแตกแยก (๓) การใช้คำพูด ไม่สุภาพ (๔) การใช้คำพูดที่ไม่มีกรอบ รูปแบบรายการไม่มีเนื้อหาสาระและการใช้คำพูดที่ไม่ถูกอักขรพยัญชนะ เป็นมิจฉาวาจาหรือวจีทุจริต คือ (๑) พูดโกหกหลอกลวง (๒) พูดทำลายความสามัคคี (๓) พูดคำหยาบ (๔) พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ จึงทำให้การสื่อสารนั้นมีปัญหาไม่สมบูรณ์และขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ
หลักการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงพุทธ และพุทธวิธีการสื่อสาร คือการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและวิธีการสื่อสารของพระพุทธเจ้า มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินรายการวิทยุ ซึ่งในการดำเนินรายการวิทยุนั้น ต้องมีหลักสัมมาวาจา ๕ ประการ คือ (๑) พูดคำจริง (๒) พูดคำอ่อนหวาน (๓) พูดคำประกอบด้วยประโยชน์ (๔) พูดด้วยเมตตาจิต (๕) พูดถูกกาลเวลาเมื่อมีหลักสัมมาวาจา ๕ ประการนี้จะทำให้ไม่เกิดปัญหา ๔ ประการ คือ (๑) ไม่โฆษณาเกินความเป็นจริง (๒) ไม่ใช้คำพูดที่สร้างความแตกแยก (๓) ใช้คำพูดสุภาพนุ่มนวล ไม่หยาบคาย (๔) ไม่ใช้คำพูดไร้สาระและไม่ใช้คำพูดที่ผิดอักขรพยัญชนะตามหลักพุทธวิธีการสื่อสาร
ส่วนรูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงพุทธนั้น เป็นรูปแบบโฆษกวิทยุแนวพุทธที่พึงประสงค์ รูปแบบรายการวิทยุแนวพุทธที่พึงประสงค์ รูปแบบผู้ฟังรายการวิทยุแนวพุทธที่พึงประสงค์ และรูปแบบลักษณะการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เป็นสัมมาวาจา ซึ่งสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับโฆษกวิทยุ ก็จะทำให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดมหาสารคามมีความสมบูรณ์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ทำให้ประชาชนมีความศรัทธาเชื่อถือต่อโฆษกนักจัดรายการวิทยุ และสามารถนำไปเป็นรูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์สืบไปDownloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์