การใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารการศึกษา วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

อาทิตยา จุฬาเสรีกุล

Abstract

      วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากร ๒) เพื่อศึกษาระดับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารการศึกษาของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากร และ ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับการบริหารการศึกษาประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น ๖๗ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม  แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน ๗๗ ข้อค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) มีค่าระหว่าง ๐.๖๗-๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษามีค่าระหว่าง ๐.๔๘-๐.๘๘  และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ ๐.๙๘  ส่วนค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อของแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ มีค่าระหว่าง ๐.๔๑-๐.๙๐  และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม     ทั้งฉบับ ๐.๙๘ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product moment

        ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารการศึกษาของผู้บริหารเฉลี่ยและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำได้ ดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการ มีค่าเฉลี่ย ๓.๙๗ ด้านการบริหารทั่วไป มีค่าเฉลี่ย ๓.๙๒ ด้านการบริหารงานบุคคล มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๖ และด้านการบริหารงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๕ ตามลำดับ

      บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารการศึกษาของผู้บริหารเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ๓ ด้าน และระดับมาก ๑ ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านจิตตะ มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๑ ด้านวิริยะ มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๙ ด้านฉันทะ มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๒ และด้านวิมังสา มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๗ ตามลำดับ

      ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักอิทธิบาท ๔กับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโดยใช้การทดสอบค่าสถิติสัมประสิทธิ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) เฉลี่ย พบว่า มีค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ ๐.๐๐ ซึ่งน้อยกว่า ๐.๐๑ นั่นคือ ปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) และยอมรับสมมติฐานรอง (H1) หมายความว่า การใช้หลักอิทธิบาท ๔ เฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับการบริหารการศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๑ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่าเท่ากับ ๐.๘๕

Article Details

How to Cite
จุฬาเสรีกุล อ. (2016). การใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารการศึกษา วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 41–51. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78752
Section
บทความวิจัย (Research Article)