การใช้สอยผ้าไตรจีวรของพระสงฆ์ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐศาสตร์ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระครูอาทรวนกิจ (อนาลโย)

Abstract

     การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และการบริโภคในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) ศึกษาการใช้สอยผ้าไตรจีวรในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ ๓) เพื่อวิเคราะห์การใช้สอยผ้าไตรจีวรของพระสงฆ์ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐศาสตร์ในจังหวัดอุดรธาน

       ผลการวิจัยพบว่า การใช้สอยผ้าไตรจีวรของพระสงฆ์ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐศาสตร์ในจังหวัดอุดรธานีพระสงฆ์ในประเทศไทย เรามีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวร แต่คงรูปแบบเดิมเอาไว้ในด้านโครงสร้างเป็นจีวร ๕ ขันธ์ ๙ ขันธ์ ผ้าจีวรจะได้มาในลักษณะของการทอดกฐินทอดผ้าป่าก็ตาม ที่แต่ก็เหมาะตามสังคมยุคใหม่เป็นไปตามโลกเพียงพอตามอัตภาพเป็นชีวิตที่สันโดษ เหมาะสมสำหรับผู้ที่ออกจากเรือน เป้าหมายในการบริโภคใช้สอยจีวรให้พระภิกษุได้พิจารณา โดยใช้สติปัญญาในการบริโภคปัจจัยมิให้ตกเป็นทาสของตัณหาราคะ ก่อนการใช้สอยพิจารณาให้เห็นคุณค่าแท้ด้วยการสำรวมระวังไม่ให้เกิดอกุศลหากผิดพลาดอันตรายทางธรรมจะเกิดทันที และเป็นอกุศลทางใจ จึงไม่ควรบริโภคปัจจัยอย่างคฤหัสถ์ผู้เสพกาม ให้เอาแบบอย่างพระพุทธองค์ที่ประพฤติปฏิบัติตามอริยมรรคคือ สัมมาอาชีวะ มุ่งประกาศพระธรรมคำสอน เพื่อปลดทุกข์ให้ชาวโลก มิได้แสวงหาความสุขเฉพาะตน

Article Details

How to Cite
(อนาลโย) พ. (2016). การใช้สอยผ้าไตรจีวรของพระสงฆ์ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐศาสตร์ในจังหวัดอุดรธานี. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 82–88. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78756
Section
บทความวิจัย (Research Article)