รูปแบบการเรียนการสอน รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) โดยใช้ การสอนแบบมีส่วนร่วมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Main Article Content

ดร.ปิยะพล ทรงอาจ

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนารูปแบบการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) และพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยาสำหรับครูของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ๒) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีที่เรียนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) ก่อนและหลังทดลองสอนแบบมีส่วนร่วม และ ๔) ประเมินความพึงพอใจของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู กลุ่มตัวอย่าง เป็น นิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษา และสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู  (๒๐๐ ๒๐๔) ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๗ จำนวน ๕๓ คน เก็บรวบรวมข้อมูล       โดยแบบทดสอบ และแบบประเมิน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๒ ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที  (t-test) ในการวิเคราะห์ข้อมูล 

ผลการวิจัยพบว่า

       ๑. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ ๘๐.๖๗/ ๘๙.๕๒ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ตามที่กำหนดไว้

       ๒. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) พบว่า นิสิตที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ ๐.๔๕๗๗ แสดงว่า นิสิตปริญญาตรีมีความรู้เพิ่มขึ้น ๐.๔๕๗๗ หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๕.๗๗  

       ๓. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) มีคะแนนสูงขึ้น และจากการทดสอบที (t-test) พบว่า คะแนนทดสอบระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๗๒.๖๐ และคะแนนทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๘๐.๕๗  แสดงว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน      มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

       ๔. คุณภาพแผนบริหารจัดการรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) พบว่า คุณภาพแผนบริหารจัดการรายวิชา (มคอ.๓) ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning)โดยรวม มีคุณภาพ อยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน ข้อ ๖.๑ รายชื่อตำราหรือเอกสารสำหรับนิสิตอ่านประกอบการเรียนปรากฏอยู่ในรายการของตำราหลักในสาขานั้นๆ ไม่เกิน ๑o ปี และมีให้บริการในห้องสมุด อยู่ในระดับดีมาก รองลงมา คือด้านแผนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ ข้อ ๕.๑ กำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้/งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียนสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ระบุไว้ในแผนการสอน (หมวดที่ ๕) และผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ข้อ ๒.๓ ระบุวัตถุประสงค์ ครบถ้วน ครอบคลุมผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome)  อยู่ในระดับดี  และด้านลักษณะและการดำเนินการ ข้อ ๓.๓ Learning Outcome ผลลัพธ์การเรียนรู้ ครบถ้วนตรงกับ Curriculum mapping และข้อ ๓.๔ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) สอดคล้องกับวิธีการสอนและวิธีการประเมินผล และด้านผลการเรียนรู้ของนิสิต ข้อ ๔.๑ หัวข้อ เนื้อหาสาระ (Content) ครบสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา และจำนวนชั่วโมงเหมาะสมกับเนื้อหา และด้านแผนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ ข้อ ๕.๓ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้/งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียน สอดคล้องกับวิธีการประเมินผลของแต่ละ Domain (วิธีการประเมินผลในตาราง OLE) ที่ระบุในหมวด ๔ ส่วนด้านอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันและมีความสัมพันธ์กันตามลำดับ         

      ๕. ความพึงพอใจของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบมี
ส่วนร่วม (Active Learning) รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) พบว่า โดยรวม  ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคุณลักษณะอาจารย์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน  อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันและมีความสัมพันธ์กันตามลำดับ 

Article Details

How to Cite
ทรงอาจ ด. (2016). รูปแบบการเรียนการสอน รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐ ๒๐๔) โดยใช้ การสอนแบบมีส่วนร่วมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 136–152. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78761
Section
บทความวิจัย (Research Article)