การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของปฏาจาราเถรี ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

แสวง แสนบุตร

Abstract

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของปฏาจาราเถรีในคัมภีร์พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของปฏาจาราเถรีมี ๓ มิติ กล่าวคือ มิติแห่งประโยชน์ มิติการเรียนรู้แบบพุทธ และมิติตะวันตกของ David A. Kolb

       มิติแห่งประโยชน์ ประกอบด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนเรียก อัตตัตถประโยชน์ และการสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวมเรียก ปรหิตประโยชน์

       มิติการเรียนรู้แบบพุทธประกอบด้วยองค์คุณที่สำคัญได้แก่ ปรโตโฆสะ จุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์ และโยนิโสมนสิการ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์หลังมีประสบการณ์

       มิติตะวันตกของ David A. Kolb มีการเรียนรู้ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ การมีประสบการณ์ การสะท้อนคิด การสร้างความคิดรวบยอด และการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่การเรียนรู้จะเริ่มที่ขั้นตอนใดก็ได้แต่ต้องดำเนินไปครบทุกขั้นตอน

       องค์ประกอบการเรียนรู้ของปฏาจาราเถรี ประกอบด้วย การมีประสบการณ์ในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ การสะท้อนคิด ฟังพระธรรมเทศนา เข้าใจความจริง เกิดความคิดรวบยอด การบำเพ็ญวิปัสสนาญาณ และการประยุกต์ใช้ เห็นแจ้งไตรลักษณ์ บรรลุอรหันต์ เป็นพระวินัยธรฝ่ายภิกษุณีและปวัตตินี

       การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของปฏาจาราเถรีเป็นรากฐานการนำประสบการณ์ (ความทุกข์) มาใช้ประโยชน์ในกระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ มองความทุกข์ในฐานะเป็นองค์คุณที่ทรงคุณค่าสำหรับการพัฒนาศักยภาพ

Article Details

How to Cite
แสนบุตร แ. (2016). การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของปฏาจาราเถรี ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 153–162. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78762
Section
บทความวิจัย (Research Article)