ความเข้าใจเรื่อง “การบูรณาการ”ระหว่างพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่

Main Article Content

รศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
ดร.ทักษิณาร์ ไกรราช

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายการเชื่อมต่อพุทธศาสตร์กับศาสตร์สมัยใหม่ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า การบูรณาการ ซึ่งหมายถึงการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน หรือการนำสิ่งที่แยกกันมารวมกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนเกิดองค์รวม การบูรณาการมี ๒ วิธีคือการปรับศาสตร์สมัยใหม่เข้าหาพุทธศาสนา และการปรับพุทธศาสนาเข้าหาศาสตร์สมัยใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้นำแนวคิดการบูรณาการมาเป็นหลักการสำคัญในการจัดการศึกษาปัจจุบัน โดยมีคำว่า แบบพุทธหรือเชิงพุทธเข้าต่อท้ายของหลายศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ รัฐศาสตร์เชิงพุทธ การจัดการเชิงพุทธ ฯลฯ และตัวอย่างสำคัญคือท่านอธิการบดีได้เสนอเป็นตัวอย่างด้วยการบูรณาการสมบัติ ๔ ออกมาเป็นคำพูดใหม่หรือข้อความใหม่ว่า ถูกดี ถึงดี และพอดี ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาของสมับัติ ๔ คือ คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ และปโยคสมบัติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ดีทุกประการ

Article Details

How to Cite
บำรุงภักดิ์ ร., & ไกรราช ด. (2016). ความเข้าใจเรื่อง “การบูรณาการ”ระหว่างพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 180–194. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78764
Section
บทความวิชาการ (Academic Article)