แนวคิดการจัดการภูมิปัญญาวิถีครามวิถีภูไท

Main Article Content

นิ่มนวล จันทรุญ
เกวลี อ่อนเรือง

Abstract

        การจัดการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาสู่องค์ความรู้ที่เป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการพัฒนาความรู้เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงพัฒนาตนเองให้ และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนมีความสามารถในการพึงตนเองและมีวิถีชีวิตที่ดีงามสอดคล้องกับบริบทในท้องถิ่น ชุมชนจึงจำเป็นต้องการจัดการความรู้ที่มาจาก“ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จากผู้รู้ในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือปราชญ์ชาวบ้านรวมถึงความรู้ยังแฝงอยู่ในวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นครามกับความเป็นภูไทเป็นสิ่งคู่กันมาเป็นเวลายาวนานซึ่งความรู้เหล่านี้สมควรได้รับการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือถ่ายทอดเพื่อไม่ให้สูญหายไป การจัดการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงควรได้รับการพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อภาคส่วนอื่นอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
จันทรุญ น., & อ่อนเรือง เ. (2016). แนวคิดการจัดการภูมิปัญญาวิถีครามวิถีภูไท. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 250–263. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78769
Section
บทความวิชาการ (Academic Article)