การพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

อัศวิน หนูจ้อย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหากระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ ๒) เพื่อสร้างผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยโดยวิธีจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนจากชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับจากผลการพัฒนาทั่วประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนและการพัฒนาผู้นำชุมชน เป็นการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๑๒ คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และคัดเลือกผู้นำชุมชนในชุมชนจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา จำนวน ๒๐ คน ร่วมสนทนากลุ่มเพื่อให้ข้อมูลในด้านปัญหา/ความต้องการของชุมชนและเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้คือแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การวิจัยครั้งนี้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างหลักสูตรการพัฒนาผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในชุมชน ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่มกิจกรรม อาสาพัฒนาชุมชน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

              ผลการวิจัยพบว่า

           ๑. การส่งเสริมกระบวนการพัฒนาชุมชนคือ ต้องพัฒนาคนเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนต้องได้รับการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้   เป็นผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความรอบรู้          มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อชุมชน กล้าในการเปลี่ยนแปลงและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความสามารถในการวางแผน และเป็นกลไกสำคัญในการวิเคราะห์ชุมชน เข้าใจปัญหาของชุมชน และสามารถร่วมแก้ปัญหาชุมชนของตนเองได้

           ๒. การสร้างหลักสูตรการพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้

               ๒.๑ ความสอดคล้องของหลักสูตรการพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตรมีช่วงคะแนนที่ ๐.๕๗-๑.๐๐ ค่าคะแนนมากกว่า ๐.๕๐ แสดงว่า องค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องในทุกประเด็น และหลักสูตรมีความสอดคล้องเป็นที่ยอมรับได้

               ๒.๒ การประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรการพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ย ๔.๒๙ ระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (x̄ = ๓.๕๑) แสดงว่าหลักสูตรมีความเหมาะสม

Article Details

How to Cite
หนูจ้อย อ. (2016). การพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้. Dhammathas Academic Journal, 16(2), 23–32. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78795
Section
บทความวิจัย (Research Article)