ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในธุรกิจเครือข่าย

Main Article Content

พระธนกฤต อตฺถกิจฺโจ (กฤดธนาพงษ์)

Abstract

      วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักการและกระบวนการของธุรกิจเครือข่าย ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธจริยศาสตร์ในการทำธุรกิจเครือข่าย ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาพุทธจริยศาสตร์ในธุรกิจเครือข่ายเป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลักโดยทำการสรุปวิเคราะห์ผลการวิจัย

       ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพนั้น การกระตุ้นจากสิ่งเร้าแล้วทำให้เกิดพลังที่แสดงออกทางพฤติกรรม เพื่อจะนำไปสู่จุดประสงค์ของตนเอง หรือปัจจัยต่างๆ ที่เป็นพลังและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันก็ได้ “Networking” เป็นหัวใจที่ทำให้ประสบความสำเร็จ การสร้างเครือข่ายหมายถึง “การเชื่อมโยง” จุดมุ่งหมาย ธุรกิจเครือข่าย มีความอิสระในการทำงาน, มีรายได้ดี, มีความเป็นมิตรกับคนทั่วไป มีความรู้รอบด้าน ให้ประสบการณ์สูง มีโอกาสก้าวหน้าเร็ว ได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที ได้รับความสำเร็จในรูปแบบต่างๆ และให้คนมีงานทำ แผนการตลาดแบบหลายชั้น เป็นระบบการตลาดและโครงสร้างของธุรกิจเครือข่ายที่มีแผนการดำเนินงานในรูปแบบตามแผนการตลาดต่างๆ แต่ในส่วนของกฎหมายมักมีการระบุที่ชัดเจนว่าอะไรผิดอะไรถูก

พุทธจริยศาสตร์ (Buddhist Ethics) ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติและกริยาอาการที่ควรปฏิบัติของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยใจความรวมคือ ผู้ได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (ธรรมชาติโดยย่อ) เรียกว่าจริยธรรม ถ้าเป็นข้อประพฤติที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องเราเรียกว่า ศีลธรรม เมื่อเข้าไปสู่วิชาชีพต่างๆ จะมีจริยาวิชาชีพ (Professional Ethics) หรือข้อตกลงอันเป็นหลัก แห่งความประพฤติของสมาชิกแห่งกลุ่มวิชาชีพนั้นๆ ในฐานะที่เป็นจรรยาที่ควรปฏิบัติร่วมกันเรียกว่า มีจรรยาบรรณ

การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate) ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกันภาระรับผิดชอบ ที่เรียกว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) คุณสมบัติที่สำคัญ ๓ ประการคือ ๑) มีอารมณ์ผูกพันแน่วแน่ จริงจังต่ออุดมการณ์ (Passion) หมายความว่า นักธุรกิจเครือข่ายจะต้องรู้สึกห่วง กังวล เอาใจใส่ต่อสิ่งที่เขาต้องการจะต่อสู้ คำว่า Passion ไม่ใช่อารมณ์ที่เป็นความตื่นเต้นที่ไร้ความหมาย หรือเป็นเพียงเจตคติภายใน (Inner Attitude) เท่านั้น ๒) มีความรับผิดชอบ (Responsibility) จริยธรรมของความรับผิดชอบเป็นตัวชี้วัดให้เห็นว่า นักธุรกิจเครือข่ายมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่ออุดมการณ์หรือไม่ และ ๓) มีวิจารณญาณ (Judgment) หมายถึง ความสามารถที่จะรักษาไว้ ซึ่งความไม่หวั่นไหวและความสงบแต่สนองตอบต่อสภาพความเป็นจริง หรือการต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ และคนจากระยะห่าง การขาดวิจารณญาณถือเป็นความผิดประการหนึ่งของนักธุรกิจเครือข่าย เป็นสิ่งที่ทำให้ไร้ประสิทธิภาพทางการบริหารจัดการเครือข่าย

Article Details

How to Cite
(กฤดธนาพงษ์) พ. อ. (2016). ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในธุรกิจเครือข่าย. Dhammathas Academic Journal, 16(2), 93–102. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78806
Section
บทความวิจัย (Research Article)