ศึกษาวิเคราะห์บทบาทองค์กรสตรีด้านการแก้ปัญหาสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยหลักพุทธธรรม

Main Article Content

รตสิรี นาทอง

Abstract

     วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทองค์กรสตรีที่ทำงานด้านการแก้ปัญหาสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรม แนวคิด ทฤษฎี  เพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาองค์กรสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทองค์กรสตรีด้านการแก้ปัญหาสตรีในสังคมไทยปัจจุบันด้วยหลักพุทธธรรม แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

       ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มสถานภาพและบทบาทของสตรีไทยในอนาคต จากลำดับความเป็นมาของค่านิยมของสังคมไทยต่อผู้หญิง แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังคงมีค่านิยมและทัศนคติเชิงซ้อนต่อผู้หญิงแม้ว่าในบางเรื่องจะได้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองและแนวคิด  แต่บ้างสถานภาพของผู้หญิงก็ยังไม่เสมอภาคเท่าเทียมกับชาย บทบาทองค์กรสตรีที่ทำงานด้านแก้ปัญหาสตรีในการให้การศึกษากับสตรีด้อยโอกาสในสังคมไทยปัจจุบันใน คือ ๑) มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในสังฆราชูปถัมภ์ เพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น ผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดีตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประจักษ์ชัดเจนต่อสังคมไทย และสังคมโลก และ ๒) เสถียรธรรมสถาน เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เผยแพร่ธรรมะแก่เพื่อนมนุษย์ สามารถนำธรรมะไปใช้ดับทุกข์ในชีวิตประจำวัน ให้มีชีวิตที่สงบร่มเย็นและเป็นประโยชน์ เพื่อสาธิตการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยใช้หลักพุทธธรรมนำสังคม

     แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบทบาทสตรี เป็นกิจกรรมและวิธีการเพิ่มศักยภาพ ขีดความสามารถของผู้หญิงในการทำหน้าที่ของตนเองและเพื่อการทำหน้าที่ทางสังคมใน ๔ บทบาท ได้แก่ ๑) บทบาทความเป็นแม่ที่สมบูรณ์ ๒) บทบาทภรรยาที่สมบูรณ์ ๓) บทบาทการรักษาเอกลักษณ์สตรีไทย และ ๔) การฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ แนวทางการบริหารพัฒนาบทบาทสตรีในองค์กรที่มีสภาพปัญหา ๔ ประการ ได้แก่ ๑) ภาครัฐและนโยบายการพัฒนาบทบาทสตรี ๒) ความไม่เข้มแข็งของกลุ่มสตรี ๓) วัฒนธรรมของสตรี และ ๔ การบริหารของผู้นำสตรี เพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาองค์กรสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน        ๑) หลักการพึ่งตนเอง ๒) ความไม่ประมาท ๓) อหิงสธรรม ๔) สัมมาอาชีวะ ๕) การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ๖) การละกิเลสและความโลภ หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา คือ ๑) หลักอริยสัจ ๔ ๒) หลักพรหมวิหาร ๔ ๓) หลักสังคหวัตถุ ๔ ๔) หลักสาราณียธรรม ๕) หลักเบญจศีล

     รูปแบบการดำเนินการ การนำเสนอหลักการและวิธีการแก้ปัญหาขององค์กรสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน โดยนำหลักพุทธธรรมเชิงบูรณาการและประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรสตรี พัฒนาทั้งการสอนด้านวิชาการ การปฏิบัติธรรม เพื่อนำไปใช้จริง บูรณาการธรรมสู่วิชาการ  สู่ชีวิตจริง เพื่อให้สตรีรู้จักประยุกต์หลักธรรมที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อต่อต้าน แก้ปัญหาของตัวสตรีเอง ในชีวิตจริง เรียนรู้ นำหลักการให้การศึกษาพัฒนาคุณธรรม จากการปฏิบัติธรรม สามารถนำองค์รู้ไปประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาชีวิตได้ บูรณาการเข้ากับเหตุการณ์ในชีวิตจริงของสตรี เพื่อไม่ให้เกิดปัญญาในสังคม จุดเด่นสตรีที่มีธรรมะสูง จุดเด่น สตรีได้ความรู้ และได้หลักการนำหลักธรรมะไปประยุกต์ใช้ การให้การศึกษากับสตรียากไร้ ไร้โอกาส เป็นรูปธรรมยั่งยืน มั่นคง องค์กรนี้ได้ช่วยสร้างพื้นที่สตรีดีอีกพื้นที่หนึ่ง จุดเด่น พัฒนาสตรี รูปแบบการแก้ปัญหาให้กับสตรีเป็นรูปแบบมากขึ้น

Article Details

How to Cite
นาทอง ร. (2016). ศึกษาวิเคราะห์บทบาทองค์กรสตรีด้านการแก้ปัญหาสตรีในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยหลักพุทธธรรม. Dhammathas Academic Journal, 16(2), 133–148. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78811
Section
บทความวิจัย (Research Article)