นโยบายการเรียกเก็บภาษีมรดกของไทย : ความเท่าเทียมทางสังคม
Main Article Content
Abstract
กฎหมายมรดกเป็นเรื่องของบุคคลซึ่งตายแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย ย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายกองมรดกของผู้ตายทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตามที่กฎหมายบัญญัติ เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” และสิทธิรับมรดกของทายาทโดยธรรม เรียกว่า “สิทธิโดยธรรม” ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” และสิทธิรับมรดกของผู้รับพินัยกรรม เรียกว่า “สิทธิตามพินัยกรรม” วัตถุประสงค์หลักในการเรียกเก็บภาษีมรดก คือ ๑) นโยบายการเรียกเก็บภาษีมรดก เป็นวิธีการติดตามการจัดเก็บภาษีที่รั่วไหล ๒) นโยบายการเรียกเก็บภาษีมรดก เป็นมาตรการในการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคมผลกระทบด้านดีของนโยบายการเรียกเก็บภาษีมรดกเป็นแนวคิดเพื่อช่วยขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจของประชาชนในสังคมและทำให้เกิดประโยชน์แก่คนยากจนผู้ด้วยโอกาส เป็นเครื่องมือให้รัฐบาลนำรายได้มาพัฒนาประเทศผลกระทบด้านลบของนโยบายการเรียกเก็บภาษีมรดกส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งอภิมหาเศรษฐีจะใช้วิธีในการหลีกเลี่ยงภาษีมรดก คือ การย้ายเงินลงทุนออกไปต่างประเทศ และเปิดบัญชีอยู่ต่างประเทศ