รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐาน ของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

จิรายุ ทรัพย์สิน และคณะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุในเทศบาล จำนวน ๓๙๙ ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล จำนวน ๗๐ คน ได้แก่ ข้าราชการ กลุ่มอาชีพ ทหาร นักเรียน นักศึกษาแม่ค้า นักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า
๑. รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านหลักคุณธรรม รองลงมา คือ ด้านหลักความโปร่งใสด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๒. การบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ๗ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านหลักนิติธรรม คือ การบริหารงานตามกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ด้วยความถูกต้อง ความดีงาม เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม ๒) ด้านหลักคุณธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรยึดมั่นความถูกต้องดีงาม สร้างคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น ๓) ด้านหลักความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานและกฎเกณฑ์ต่างๆ มีการเปิดเผยตรงไปตรงมา สามารถตรวจสอบได้ ๔) ด้านหลักการมีส่วน คือการบริหารงานที่เปิดโอกาสให้บุคลากร มีส่วนรับรู้การวางแผนการปฏิบัติงานในการทำงานร่วมกัน
๕) ด้านหลักการรับผิดชอบ คือ การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร และผู้บริหารใส่ใจต่อปัญหาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ๖) ด้านหลักความคุ่มค่า คือ การบริหารการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการดำเนินงานอย่างเหมาะสม และ ๗) ด้านการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู้ประชาคมอาเซียนซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
๓. แนวทางการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยรวม พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ควรมีการพิจารณาคำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับค????ำนึงถึงความเป็นธรรมและเสมอภาคในแต่ละกรณี ด้านหลักคุณธรรม ควรมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อการปฏิบัติหน้าที่ มีไมตรีจิตพร้อมให้บริการ ยึดมั่นในหลักคุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ควรมีการสรุปรายงานและเปิดเผยให้สาธารณชนรับทราบอย่างทั่วถึงควรมีฝ่ายกลั่นกรองหรือฝ่ายตรวจสอบภายในของหน่วยงานมีประสิทธิภาพเพียงพอ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการในรับฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากองค์กร
ภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชน ควรเปิดโอกาสให้บุคลากร องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนรวมถึงประชาชนเสนอความคิดเห็น ด้านหลักความรับผิดชอบ ควรมีการติดตามประเมินผลและจัดการกับผลการปฏิบัติงานในที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ด้านหลักความคุ้มค่า ควรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมและสังคม ควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานและสังคม ด้านการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนควรมีการกระจายอำนาจการบังคับบัญชาในทุกภาคส่วนเพื่อการให้บริการที่ตอบสนองต่อความหลาก หลายของประชาชนที่มากขึ้นบุคลากรในหน่วยงานควรมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีคุณภาพภายในที่สูงขึ้น

Abstract

This research aimed 1) to study the management of municipal performance based on key good governance 2) to study the management of municipal performance based on key good governance and third. 3) to present a model for managing municipal performance based on key good governance to prepare for the ASEAN community. Research studies using a combination of quantitative research and qualitative research. Quantitative research data from the elderly in the city of 399 cases with multi-stage random sampling method. A questionnaire prepared as a tool to collect data. The nature of the query as well as a closed end and open end, the researchers analyzed the data obtained. By percentage, average, standard deviation. The qualitative research Using interviews with a number of 70 people, including government officials, professional groups, students, soldiers, merchants, tourists. The general public by means of a specific selection. The analysis results showed that the contents consisted of context.
The result found that:
1. The form of municipal management efficiency based on good governance principles to prepare for the ASEAN community as a whole have an average level. Considering it was found that the model effective municipal management based on good governance principles to prepare for the ASEAN community. The side with the most integrity, the second is the principle of transparency. The rule of law the main value the principle involved the main responsibility and the average minimum is for the administration to prepare for the ASEAN community.
2. Management of municipal effective on the basis of good governance seven aspects: 1) the rule of law is the administration of law. regulations with accuracy so thatis a good example to society, 2) the moral duty is to uphold the validity of the staff is pretty good. The quality of life of people in the society for the better, 3) the primary process is transparent and rules. Are disclosed upfront. Can detect, 4) The principle involved is that the administration allow personnel to recognize the operational planning in collaboration 5) the principle of responsibility of duty of personnel and management’s attention to the problem. a social responsibility, 6) the main value is the use of administrative resources. Operating properly and 7) management to prepare for the ASEAN community. Each side has an average level.

3. Guidelines for the management of municipal performance based on key good governance to prepare for the ASEAN community as a whole that the rule of law. Should be considered out of order and regulations. It is said that legal procedures by the relevant ministries, including the reasons. should be considered regardless of the order or regulation is fair and equitable in each case. The moral principles the management and staff should have the honesty to perform their duties. Hospitality available adherence to moral principles Moral and ethical the management and staff should adhere to the principle of duty to the authorities and the public. The principle of transparency administration and activities the report should be finalized and disclosed to the public acknowledgment. Parties should scrutinize the internal audit department or agency powerful enough to perform their duties. The principle involved the management and staff should be added to the channel or listen to the advice and suggestions from the public and private sectors, including the public. Should allow staff governmental and private sectors, including public comments on the proposed administration. The main responsibility there should be monitoring and managing performance in the implementation of it. There should be advised that information. Pay attention to the problems of people and society seriously. The study came to fix the problem. The main value should use its resources are limited. And contributes to the interest of the public and society. Should
spend wisely and maximize the authorities and society. Management to prepare for the
ASEAN community. There should be a decentralization of command in all sectors to provide services that respond to a variety of people more. Personnel departments should strive to achieve operational effectiveness and quality within higher.

Article Details

How to Cite
ทรัพย์สิน และคณะ จ. (2017). รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐาน ของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Dhammathas Academic Journal, 17(2), 15–28. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/78936
Section
บทความวิจัย (Research Article)