การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนในเครืออัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Main Article Content

ศรีจิตรา ลิขิตเรืองศิลป์

Abstract

บทคัดย่อ

        วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ ๑) เพื่อสร้างแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๒) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๓) เพื่อสร้างเกณฑ์ในการแปลความหมายคะแนนจากแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และ ๔) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนในเครืออัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน ๓๐๐ คน ในการหาค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถาม การวิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้างและความเที่ยงของแบบวัด และ จำนวน ๓๓๕ คน ในการสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัด โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบวัด ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม ๑๖๐ ข้อ ที่มุ่งวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน ๘ ประการ คือ ๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒) ซื่อสัตย์ สุจริต ๓) มีวินัย ๔) ใฝ่เรียนรู้ ๕) อยู่อย่างพอเพียง ๖) มุ่งมั่นในการทำงาน ๗) รักความเป็นไทย และ ๘) มีจิตสาธารณะ มีลักษณะเป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์และเลือกตอบ ๖ ตัวเลือก โดยแต่ละตัวเลือกมีคะแนนต่างกันตั้งแต่ ๑-๖ คะแนน วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบ และตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถามรายข้อในประเด็นค่าอำนาจจำแนก โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทั้งฉบับ ด้านความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในโดยวิธีของ Cronbach

         ผลการวิจัยพบว่า

       ๑. ความตรงตามเนื้อหา พบว่า ข้อคำถามในแบบวัดมีค่า IOC ตั้งแต่ ๐.๖๐-๑.๐๐

       ๒. ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถาม ๘ ประการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๒๓-๐.๖๙

       ๓. ความตรงตามโครงสร้างของแบบวัดจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

      ๔. ความเที่ยงของแบบวัดจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach มีค่า ๐.๘๑ ๐.๘๘ ๐.๘๗ ๐.๘๗ ๐.๘๙ ๐.๘๗ และ ๐.๙๐ ตามลำดับ

      ๕. เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนทั้ง ๘ ฉบับ มีค่า T2-T79, T3-T90, T1-T88, T2-T87, T1-T89, T1-T88, T4-T89 และ T1-T87 ตามลำดับ

      ๖. คู่มือการใช้แบบวัดคุณลักษณะมีความเหมาะสม เข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบสำคัญครบถ้วน

Article Details

How to Cite
ลิขิตเรืองศิลป์ ศ. (2016). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนในเครืออัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. Dhammathas Academic Journal, 16(3), 29–42. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/79725
Section
บทความวิจัย (Research Article)