การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของประชาชนอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอ รัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอ รัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖๘,๐๕๕ คน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๙๘ คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้ t-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยการทดสอบ F-test ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กำนันหรือตัวแทนในเขตอำเภอรัตนบุรี ทั้ง ๑๒ ตำบลๆ ละ ๑ คน โดยได้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน ๑๒ คน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอ รัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับ ระดับมากสองด้าน และอยู่ในระดับปานกลางหนึ่งด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และด้านการร่วมกิจกรรมทางการเมือง ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
๓. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ลำดับความถี่สูงไปหาต่ำสามอันดับแรก ได้แก่ ควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง ควรเปิดโอกาส