ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม จริยธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี

Main Article Content

พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์)

Abstract

บทคัดย่อ

         มนุษย์ต้องมีกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กฎเกณฑ์นี้คือ เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข “กฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ กำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ส่วนศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน ศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใดเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆนั้นโดยเฉพาะ ผลกระทบจากการฝ่าฝืนจริยธรรมจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น ส่วนผู้ฝ่าฝืนหลักคำสอนของศาสนาจะไม่มีสภาพบังคับไว้แน่นอน แต่หากผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับทางศาสนามักจะถูกสังคมที่นับถือศาสนานั้นๆ รังเกียจไม่คบหาสมาคมด้วย ส่วนจารีตประเพณีจารีตเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม ผู้ละเมิดได้รับผลกระทบด้วยการติเตียนและรังเกียจจากสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม จริยธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี มีหลายประการด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากกฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี

Article Details

How to Cite
สุมงฺคโล (อนุพันธ์) พ. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม จริยธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี. Dhammathas Academic Journal, 16(3), 277–289. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/79811
Section
บทความวิชาการ (Academic Article)