ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

บุษราภรณ์ พวงปัญญา

Abstract

บทคัดย่อ

­ศูนย์การเรียนรู้เป็นอีกหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนชุมชน สร้างรากฐานให้แข็งแกร่ง ชุมชนสามารถจัดการและพึ่งตนเองได้ เน้นการใช้ทรัพย์สินภูมิปัญญาในชุมชนในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศที่แข็งแกร่ง ในทางปฏิบัติ การนำนโยบายที่เป็นในรูปแบบกิจกรรม แนวทาง เพื่อเป็นการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการขับเคลื่อนชุมชนนั้นจะต้องมีกระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการนั้นต้องเน้นช่องว่าง (Consciousness Gap) ซึ่งในการตระหนักช่องว่างดังกล่าวนี้ต้องอาศัย ความต้องการ ไม่สร้างความรู้สึกแปลกแยก (De-Alienation) ในการขับเคลื่อนกิจกรรม เพื่อจะให้บุคคลตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วม จำเป็นต้องให้เกียรติ หรือสร้างความรู้สึกว่าทุกคนมีความสำคัญต่อกิจกรรมการขับเคลื่อน การมีส่วนร่วม (Participation) การมีส่วนร่วมตัดสินใจ หรือการมีส่วนร่วมแบบต่อเนื่อง (Continuous Participation) การมีส่วนร่วมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการขับเคลื่อนทั้งนี้สามารถพึ่งตนเอง (Self-Reliance) ทั้งการพึ่งตนเองทางวัตถุ การพึ่งตนเองทางจิตใจ และการพึ่งตนเองทางสติปัญญาและสังคมคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน (Collective) ผลประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนการมีจิตอาสากระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการ ทบทวนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ศูนย์การเรียนเปรียบเทียบได้กับเป็นศูนย์รวมของชุมชน ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Feasibility Study หรือ Feasibility Analysis ) การกำหนดนโยบายของรัฐจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ที่ง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อผลสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

Abstract

The learning center is one of the community driven mechanism to strengthen the basis of the community management and community resilience by emphasis on the use of the community wisdom and property to lay the foundation of national development strongly. In practice, it is the use of the policy in the forms of activities and approaches to make the real practice. Nevertheless, the driving of the community must have the development process in the practical level that emphasis in the consciousness gap which depend on the needs and de-alienation. In other words, to driving the activities which aim for attract the people’s decision to participate, the activities need to respect or building feeling that everyone is important to the driving activities, participation, participatory decision-making or the continuous participation, participation in any from the beginning until the end of the driving which including the self-reliance on resources, spirit, wisdom and the awareness of the collective benefit of the public as well as the volunteer spirit in the development process in practical level, reflection on the impacts to the community and livelihoods. The community learning center as the community center which is connecting the policy and the results that need to operate thought the feasibility study or feasibility analysis. The government policy needs to build the knowledge which is easy to implement forwarding to the achievement of the policy
implementation become real.

Article Details

How to Cite
พวงปัญญา บ. (2017). ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. Dhammathas Academic Journal, 17(1), 193–203. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/85278
Section
บทความวิชาการ (Academic Article)