ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์สามประการดังนี้ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ของประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ ประชาชนที่อยู่อาศัยและเป็นหัวหน้าหรือผู้แทนครัวเรือน ในเขตพื้นที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๑๕ ตำบล ๒๔๐ หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น ๒๑,๘๐๔ คน ในการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๙๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๔ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ t-test และ F-test (One-way ANOVA) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กำนันหรือตัวแทนในเขตอำเภอวาปีปทุม ทั้ง ๑๕ ตำบลๆ ละ ๑ คน โดยได้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน ๑๕ คน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งสามด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร รองลงมาคือ ด้านการสาธารณูปโภค และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการคมนาคม
๒. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
๓. ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามลำดับคือ ควรเร่งดำเนินการบำรุงรักษาซ่อมแซมถนนที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน,ควรเร่งดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตามถนน และสถานที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือความไม่ปลอดภัยให้ทั่วถึง และควรแสวงหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อการผลิตประปา
Abstract
This Thesis was the mixed methods research, which consisted of three specific
objectives namely; 1) to study residents’opinions on infrastructural operations of tambon
administration organizations in WapiPathum district, MahaSarakham province, 2) to
compare the former’s opinion son infrastructural operations of those local units, resting
upon differences in the former’s genders, ages, and educational backgrounds, and 3) to
study suggestions of developmental guidelines in infrastructural operations of the
aforesaid local bodies. The quantitative research populations comprised residents
dwelling and representatives or head of households from 240 villages of 15 sub-districts
in WapiPathum district area, numbering 21,804 individuals. The sampling group was set
against Taro Yamane’s table, earning 393 subjects. The instrument used for data
collection was the five-rating-scale questionnaires, each of which was endowed with the
reliability at 0.84. The statistical tools for computing data encompassed percentage, mean,
standard deviation. The statistics utilized for testing the hypothesis included t-test
and F-test (One way ANOVA). As for the qualitative research, the target population
consisted of 15 sub-district headmen or representatives from 15 sub-districts in
WapiPathum district. All of them were the key informants who were purposely selected,
one informant from each sub-district. The research tools were composed of an interview,
a semi-structured interview.
The results of research were found as follows:
1. Residents’ opinions on infrastructural operations of tambon administration
Organizations in WapiPathum district, MahaSarakham province, in the overall aspect were
found at the high level. With a single aspect taken into account, all three aspects were
also at the high level; those ranked in descending order were: water for use and
agriculture, utilities, and transport respectively.
2. The results of comparison were found that people with different gender, age,
and educational backgrounds had no difference on opinions of infrastructural operations
with three aspects.
3. Suggestions regarding the operation of infrastructure here, in descending order
of first three frequencies. Firstly, should accelerate maintenance repairs the road
connection between the villages, evaluate and monitor the ongoing construction work
seriously. Secondly, should accelerate the installation of street lighting for the places
where had the risk of an accident or unsafe. Finally, should seek to produce backup
water source plumbing.