กระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติด ในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองพอก ปีการศึกษา ๒๕๕๖

Main Article Content

อุทัย กมลศิลป์ และคณะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ในการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองพอก ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน ๒,๔๕๑ คน ครู จำนวน ๔๕ คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียนจำนวน ๒๒๐ คน ครูจำนวน ๒๐ คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน ๙ คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๑๒ คน ผู้นำชุมชน จำนวน ๑๒ คน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน ๑๐ คน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นวิเคราะห์สถานการณ์ ขั้นกำหนดยุทธศาสตร์ ขั้นปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ และขั้นประเมินผลตรวจสอบยุทธศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่องกระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองพอก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนั้นมีการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า ขั้นวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเกิดจากความต้องการทดลองของเด็ก ผู้ปกครองไม่ยอมรับความจริงที่ลูกของตนติดยาเสพติด พฤติกรรมการชอบเลียนแบบดาราหรือสื่อตามโฆษณาต่างๆ การคบเพื่อน ปัญหาความแตกแยกของครอบครัว การถูกหลอกลวง สภาพแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจในครอบครัวทำให้พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก ยุทธศาสตร์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ประกอบด้วยแนวทาง คือ ๑) การป้องกัน ๒) การปราบปราม และ ๓) การบำบัดดูแลและช่วยเหลือ

ขั้นตอนการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา พบว่า ด้านการป้องกัน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด ยุทธศาสตร์การสร้างบรรยากาศในสถานศึกษา ยุทธศาสตร์การประสานงานกับผู้ปกครองด้านปราบปราม ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การปราบปราม และยุทธศาสตร์การลงโทษ และด้านบำบัด ดูแลและช่วยเหลือ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์กายภาพบำบัดและยุทธศาสตร์จิตบำบัด

ขั้นตอนการดำเนินกระบวนการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา มีดังนี้ การคัดกรองศึกษาที่เสพยาเสพติดจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ หัวหน้าห้อง กิจกรรมการสารภาพของตัวนักศึกษา กิจกรรมการตรวจปัสสาวะ และกิจกรรม โครงการคนยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมกับศึกษากลุ่มปกติ เช่น การเดินรณรงค์ร่วมกับสถานศึกษาในอำเภอหนองพอก ร่วมต่อต้านยาเสพติด การให้ความรู้เรื่องยาเสพติดในคาบอบรมประจำสัปดาห์

ขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา ประกอบด้วยด้านการวางแผน พบว่า ภาพรวมการปฏิบัติด้านการวางแผนอยู่ในระดับปานกลาง รายการที่มีการปฏิบัติมากที่สุดได้แก่ เปิดโอกาสให้นักเรียน ครู-อาจารย์ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และองค์กรหน่วยงานในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการแพร่ระบาดยาเสพติดในโรงเรียน ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ ระบุปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดและกำหนดลักษณะทรัพยากร ที่มีส่วนช่วยในการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา

ด้านการบริหารพบว่า ภาพรวมการปฏิบัติด้านการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง รายการที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ จัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเพียงพอ

ด้านการตรวจสอบและการประเมินผลพบว่า ภาพรวมด้านการตรวจสอบและการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง รายการที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ รวบรวมข้อมูลเพื่อ การตรวจสอบและประเมินผลการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ วิเคราะห์สาเหตุความแตกต่างระหว่างผลงานและมาตรฐานของผลงานด้านการปรับปรุงแก้ไข พบว่า ภาพรวมการปฏิบัติด้านการปรับปรุงแก้ไขอยู่ใน ระดับปานกลาง รายการที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ แก้ไขปรับปรุงการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และการระดมพลังจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายใน การปรับปรุงแก้ไขปัญหาการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ มีการนำผลการตรวจสอบประเมินไปใช้แก้ไขปรับปรุงงานทุกครั้ง

Abstract
The objective of this research was to study the current situation, problem, and
process of strategic management for preventing the epidemic of addictive substance in non-formal and informal education center, Nongpog District. The target group of this study consisted of 2,451 persons and 45 teachers. The samples of this study consisted of 220 students, 20 teachers, 9 school boards, 12 students’ parents, and 10 public officers. There were 4 steps of research implementation as follows: the situational analysis, strategic determination, strategic plan implementation, and strategic investigation and evaluation.

The research instrument was the Questionnaire titled “The Process of
Strategic Management for Preventing the Addictive Substance in Non-formal and InformationCenter, Nongpog District, constructed by the researcher. Then, data were analyzed byusing the computer program for calculating the Mean, and Standard Deviation. Besides, the focus group discussion and interview were administered. The research findings found that:
The step of situational analysis: The problem situations of epidemic in addictive
substance were caused by the children’s desire for experiencing, the parents did not accept the fact that their children were addicted, the children’s behavior in imitation from movie star or media from various kinds of advertisement, the children’s peer group, the children’s broken home, the persuasion, the environment and surrounding, and theeconomic situation in family in which the parents didn’t have time in taking care of their children.

There were 3 ways of strategy for preventing the epidemic of addictive substance as follows: 1) the prevention, 2) the compression, 3) the treatment, caring, and support. The step of strategic determination for preventing the epidemic of addictive substance in school, found that the prevention consisted of strategies for providing knowledge in addictive substance, strategies and activities in opposing the addictive substance, strategies for creating the school climate, strategies for cooperation with students’ parents. The compression consisted of strategies for physical therapy as well as psychotherapy.

There were steps of implementation in strategic process for preventing the
epidemic of addictive substance in school as follows: the selection and study of the places for addictive substance from school consultants and classroom heads, the activity in checking the urine, and the activities for new age people to be attentive for their health. In addition, the activities were also provided for general students, for instance, the collaborative campaign with school in Nongpog District to oppose the addictive substance, and to provide knowledge of narcotic drug during the period of every week.

The step of investigation and evaluation in activity implementation for preventing the epidemic of addictive substance in school including the planning, found that the overall practice in planning, was in “Moderate” level. The highest level of practice, was the opportunity for students, teachers, students’ parents, community leaders, school boards, and work unit organizations in the area to participate in strategic determination as well as measures in epidemic of additive substance in school. For the lowest level of practice, including the specification of major success factor in preventing the epidemic of addictive substance, and resource characteristic determination which could prevent the epidemic of addictive substance in school.
The management aspect, found that the overall management practice was in
“Moderate” level. The highest level of practice was the control and care of activities for preventing the epidemic of addictive substance in school. The lowest level of practice was the resource allocation in preventing the epidemic of addictive substance in school sufficiently.

The investigation and evaluation aspect, found that the overall of investigation
and evaluation was in “Moderate” level. The highest level of practice was the data  collection for investigation and evaluation for preventing the epidemic of addictivesubstance in school systematically. The lowest level of practice included the analysis in causes of differences between performance and performance standard. For the correction and improvement, found that the overall practice in improvement and correction was in “Moderate” level. The highest level of practice was the correction, improvement, and prevention in epidemic of addictive substance in school systematically and continuously as well as the power gathering from every division related persons in improving, correcting, and preventing the epidemic of addictive substance in school.

The lowest level of practice was the application in investigation findings for work correction and improvement every time.

Article Details

How to Cite
กมลศิลป์ และคณะ อ. (2017). กระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติด ในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองพอก ปีการศึกษา ๒๕๕๖. Dhammathas Academic Journal, 17(1), 59–71. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/86068
Section
บทความวิจัย (Research Article)