การประเมินการตัดสินฟุตบอลของกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย ประจำปี ๒๐๑๕

Main Article Content

กฤษดา ชาญวิจิตร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประเมินการตัดสินฟุตบอลของกรรมการ ผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ประจำปี ๒๐๑๕ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ตัดสินสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน ๒๐ คน ที่ทำหน้าที่ในการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ประจำปี ๒๐๑๕ ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประเมินการตัดสินฟุตบอลของกรรมการผู้ตัดสิน จากผู้ประเมินผู้ตัดสิน จำนวน ๕ คน ที่ทำการประเมินกรรมการ ผู้ตัดสิน จำนวน ๒ ครั้ง ได้รับผลการประเมินกรรมการผู้ตัดสินคืนมา
จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕ ค่าความเชื่อมั่นชนิดทดสอบซ้ำของแบบประเมินมีค่าเท่ากับ .๗๔ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินการตัดสินฟุตบอลของกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ประจำปี ๒๐๑๕ โดยผลการประเมินเชิงปริมาณ อยู่ในระดับดี ทั้ง ๔ ด้านตามลำดับ คือ ๑) ด้านการดำเนินการขณะตัดสินและใช้สัญญาณต่างๆ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๔๐ ๒) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ช่วยผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินที่ ๔ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๖ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๓๖ ๓) ด้านความสมบูรณ์ของร่างกาย ตำแหน่งทิศทางและความรับผิดชอบในพื้นที่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๓๕ ๔) ด้านการตัดสินตามกฎ กติกา บทลงโทษและการควบคุมการแข่งขัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๓๑

ผลการประเมินเชิงคุณภาพที่เป็นคำชื่นชมจากผู้ประเมินผู้ตัดสินยังพบว่า ผู้ตัดสินมีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการทำหน้าที่ และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการใช้หลักจิตวิทยา แสดงออกถึงความเด็ดขาดตัดสินชี้ขาดด้วยความมั่นใจ มีการควบคุมอารมณ์ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สำหรับคำแนะนำในการพัฒนาพบว่า ในการกระทำผิดกติกาของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน จากการวินิจฉัยผู้ตัดสินควรพิจารณาให้มีความเท่าเทียมกันของทั้งสองทีม มีการพิจารณาที่ถูกต้องและไม่ละเลยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเพราะคิดว่าอาจจะไม่เกิดความรุนแรง

Abstract
The purpose of this study was to study football referees assessment’s in AIS football League Northeast region, Thailand 2015. The sample with purposive selection consisted of 20 football referees in AIS football League Northeast region, Thailand 2015 Data collection of football referee assessment was done 2 times by 5 assessors. 13  questionnaires had been returned at 65 percentages. Test-retest reliability of assessment was .74. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation.
The research findings indicated that: assessment results of referees in AIS football League Northeast region, Thailand 2015 were found at good level of 4 aspects. 1) The measure of the decision implementation and signals were 4.18 at standard deviation were 0.40. 2) The measure of relations with assistant referee posts official and efficiency of duty was 4.16 and standard deviation was 0.36. 3) The measure of body completeness position, direction and responsibility in the area was 3.90 and standard deviation was 0.35. 4) The mean of the concision by using rules, penalties and controlled the match was 3.88 and standard deviation was 0.31.

Qualitative assessment of referee assessors found that referee had intention and enthusiasm in doing duty. Referees solved unexpected problem by using principles this solving showed that the referee had judgment, emotional control and good relationship. Suggestion to improve was infringement throughout the match of players. From diagnostic, referees should consider being equal, correct and did not ignore just may not be violent.

Article Details

How to Cite
ชาญวิจิตร ก. (2017). การประเมินการตัดสินฟุตบอลของกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย ประจำปี ๒๐๑๕. Dhammathas Academic Journal, 17(2), 37–48. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/87254
Section
บทความวิจัย (Research Article)