รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

กิติรัชน์ บุญเกาะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการจนได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ๒) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ๑) ส่งเสริมพัฒนาความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และความรู้เป็นคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการท้องถิ่น ๒) วางแนวทางปฏิบัติตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลางและความไม่ประมาท มีความพอเพียง ๓) ส่งเสริมให้ข้าราชการท้องถิ่นปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ชอบธรรม มีความอดทนอดกลั้น ๔) ส่งเสริมข้าราชการท้องถิ่นให้มีความพากเพียร มีความอุตสาหพยายามทำงานหนัก ขยันหมั่นเพียร ๕) ดำเนินการที่บรรลุผลความสำเร็จและความสำเร็จเป็นผลมาจากความสามารถของหน่วยงาน ความขยันและอดทน ความรับผิดชอบและความมีระเบียบวินัย ๖) ส่งเสริมให้ข้าราชการท้องถิ่นมีจิตสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และ ๗) ประเมินผลที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าถึงโดยสะดวก มีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจ ๘) ประเมินผลที่ผู้รับบริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในความถูกต้องสมบูรณ์ เหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการกิจกรรมต่างๆ

ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (\bar{x}= ๔.๘๙) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = ๐.๑๒) ซึ่งแปลผลอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๘๐ ผลการประเมินความสอดคล้องในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ΣR = ๖.๗๑) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC= ๐.๙๕) แปลผลมีความสอดคล้อง คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๘๕ ผลการประเมินความเหมาะสม ความถูกต้อง และความสอดคล้องรูปแบบภาพรวมทั้งหมด พบว่า ประเด็นการประเมินภาพรวมทุกข้อมีความถูกต้อง ความเหมาะสมและมีความสอดคล้องในภาพรวมทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๘๒

          Abstract

The research objectives were as follows to: 1) analyze the success of local management awarded the best management. 2) create a format of local management using good governance and principles of sufficiency economy philosophy. 3) evaluate local government management using and principles of sufficiency economy. Qualitative research using research and development patterns were applied.

The results were as follows:The model of local administration management using good governance and sufficiency economy principles consisted of 7 important elements. 1) to develop local officials’ job performance with morality awareness. 2) to stay moderated, precautious and sufficient. 3) to promote local officials to behave righteously. 4) to promote local officials attentive, Industrious, and productive. 5) to promote teamwork achievement. 6) having a plan to promote self-awareness of local officials and 7) transparency of evaluation by having information disclosure with an easy access to satisfy all. 8) evaluate the service recipients. Stakeholders are satisfied. In complete accuracy the suitability and value of various activities. 

Results of evaluation forms found that overall evaluation was at a high level with an average of ( \bar{x}= 4.89, 0.12) for the standard deviation interpreted as the highest level
at 97.80 per cents. The overall conformity assessment results was at a high level (ΣR =
6.71, 0.95 IOC at 95.85) percents. The result of overall evaluation of suitability, accuracy,
and consistency found that all items were accurate, suitable, and consistent at 96.82
percents.

Article Details

How to Cite
บุญเกาะ ก. (2017). รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. Dhammathas Academic Journal, 17(2), 1–14. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/87351
Section
บทความวิจัย (Research Article)