การถอดบทเรียน: โรงเรียนต้นแบบโครงการโรงเรียนคุณธรรม ในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

วรัญญา จีระวิพูลวรรณ
สุนันท์ นวลเพ็ง
ชาญณรงค์ อินทรประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ศักยภาพ ปัญหา อุปสรรค และ ปัจจัยความสำเร็จของโรงเรียนต้นแบบของโครงการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน วิธีดำเนินการ ใช้เทคนิคมองย้อนหลังและทบทวนหลังการปฏิบัติ มองภาพในอนาคต และ แนวปฏิบัติที่ดี เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การวาดภาพจากจินตนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาเกิดขึ้นโดยการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยมีโรงเรียนเป็นฐาน บูรณาการระบบการจัดการข้อมูลองค์ความรู้และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ผลผลิต มีทั้งที่เป็นรูปธรรม และ นามธรรม ผลลัพธ์ คือ ครูได้พัฒนาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้และทักษะกระบวนการตามมาตรฐานและตัวชี้วัด โรงเรียนและคณะผู้บริหารได้ระบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยมีโรงเรียนเป็นฐาน ผลกระทบ คือ นักเรียนมีทักษะอาชีพ มีอาหารกลางวันปลอดภัยและเพียงพอ มีความรับผิดชอบ ความสามัคคี และระเบียบวินัย ปัจจัยความสำเร็จ คือ แรงบันดาลใจจากหน่วยงานภาครัฐ บูรณาการทรัพยากรจากภาคีเครือข่าย ชุมชนและผู้ปกครอง การหนุนเสริมจากภาคีเครือข่าย ความยั่งยืนในการพัฒนา คือ การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนที่ต่อเนื่อง การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ชุมชนต้องรักษาความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในโรงเรียน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร. 2554. คู่มือถอดบทเรียนงานส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ วันที่10 มกราคม 2563 จากhttp://www.research.doae.go.th/ webphp/filepdf/learnsongserm.pdf

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์. (มปป.) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. สืบค้นเมื่อ วันที่10 มกราคม 2563 จาก https://www.dltv.ac. th/home.

ไพบูลย์ มีสิน. 2558. การประเมินผลการกำกับดูแลโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน ในโรงเรียนประถมศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพฯ 9(2), 1-14.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ, 2060. กระบวนการพัฒนา โรงเรียนคุณธรรม ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

ประวิน นัยเจริญ และ สุนัน สีสังข์. 2558. การดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 12 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2558. น. 71-77.

พรรณี บัญชรหัตถกิจ และคณะ. 2002. การพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนแบบพึ่งพาตนเอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. KKU Research Journal 7(1 Jan-June 2002), 93-103.

Salem-Schatz, Ordin &Mittman, 2010. Guide to the after action review. Retrieved June 19, 2020 from https://www.cebma.org/wp-content/ uploads/Guide-to-the-after_action_review.pdf.