การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อ การเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พณิดา เตชะผล
กรวี นันทชาด
สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 2) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน  กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ วัดศรีนคราราม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 9 ข้อ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานวิลคอกซัน 


            ผลการวิจัย 1) นักเรียนที่ได้รับการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.04)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abruscato, J. (1996). Tecaching children science: A discovery approach. boston: Allya and bacon.

Bloom, et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives Handbook I : The cognitive domain. New York: David McKay.

Daehler, K. & Folsom, J. (2016). Making Sense of SCIENCE: Phenomena- Based Learning. Retrieved from: http://www.WestEd.org/mss.

Dewantara, et al. (2019). Cultivating Students’ Interest and Positive Attitudes towards Indonesian Language through Phenomenon-Text-Based Information Literacy Learning. International Journal of Instruction, 12(2), 147-162.

Martin, et al. (1994). Teaching Science for all Chileren. Masschusett: Allya and bacon.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรกลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง 2560) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินดา แก้วคงดี. (2542). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39 (1), 113-129.

ดุสิตา แดงประเสริฐ. (2549). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะหและทักษะการเขียนสรุป ความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิรมล ศตวุฒิ. (2548). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคดิ การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 73-90.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. 2544. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิด วิธีและ เทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542) แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

โรสมาวัน อะลิดิมัน. (2556). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ในสังคมพหุวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://www.niets.or.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวิทย์ มูลคํา. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อนุเบศ ทัศนิยม และสุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน.

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(6), 31-44.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณืเป็นฐาน เพื่อสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2),348-365.