ทุกคนเป็น “ครู” ได้จริงหรือ?

Main Article Content

ปุณรัตน์ พิพิธกุล
นันทภูมิ เกษลา
ลินดา จันทะชิด
วันวิสา ป้อมประสิทธิ์
อรอุมา เชษฐา
พงศธร สุกิจญาณ

บทคัดย่อ

บทความความนี้มุ่งนำเสนอคุณลักษณะของนักศึกษาครู “ครู” โดยเริ่มจากพ่อและแม่ที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน ส่วนในวังมีนักปราชญ์ และขุนนาง เป็นผู้ที่อบรมสั่งสอนที่มุ่งเน้นคุณธรรมและจริยธรรม หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะความเป็นอยู่การเรียนรู้ก็มีการเปลี่ยนแปลง ลูกผู้ชายมีการเรียนศิลปะการต่อสู้ ลูกผู้หญิง เช่น การจีบพลู การทำอาหารและการทอผ้า โดย              ผู้ที่อบรมสั่งสอน คือ “ครู” ในปัจจุบัน “ครู”เป็นผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาซึ่งเป็น “การศึกษา” ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอด ความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ               จัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต วิชาชีพครู คือผู้ที่ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ให้เหมาะสม  มีความเชี่ยวชาญทั้งวิชาชีพความเป็นครู และสาขาวิชาเฉพาะศาสตร์ พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู โดยกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโดยมีสมรรถนะหลัก และสมรรถนะรอง ที่นำไปสู่การพัฒนาของนักศึกษาวิชาชีพครู


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. หลักสูตรคณะครุศาสตร์ (๔ ปี) พ.ศ.๒๕๖๒. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ๒๕๖๒.

จินตนา สุจจานันท์. การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๔๔.

ถนอม อินทรกำเนิด. พัฒนาการการฝึกหัดครู. สุนทรพจน์งาน “เหลียวหลัง แลหน้า การฝึกหัดครูไทย”. โดย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี, ๒๕๖๒.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

ยนต์ ชุ่มจิต. การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๔๖.

วุฒิชัย มูลศิลป์. สมเด็จพระปิยมหาราชกับการปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ:พิมพ์คำสำนักพิมพ์, ๒๕๕๔.

สาโรช บัวศรี. รากแก้วการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๒.

สุนทร สุนันท์ชัย. การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ (พิมพ์ครั้งที่ ๕). นนทบุรี:มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๒.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค, ๒๕๔๒.