การพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรอบรู้ดิจิทัลให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาดอนปลายในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

สาวิตรี บุญมี
วราพร กรีเทพ
ปณิธาน เมฆกมล
สมวรร ธนศรีพนิชชัย
ฐาปนี เพ็งสุข
สุดารัตน์ หนองหารพิทักษ์
เสกศิลป์ มณีศรี
นิษา ศักดิ์ชูวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อและกิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมการรอบรู้ดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย เพื่อพัฒนาแบบประเมินการรอบรู้ดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย และเพื่อนำสื่อและกิจกรรมไปใช้ในการส่งเสริมการรอบรู้ดิจิทัลกับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีที่ 5 และปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำนวน 22 โรงเรียน โดยคัดเลือกโรงเรียนจากทั้ง 4 เขตการศึกษา จำนวน 337 คน ผลจากการวิจัยพบว่า สื่อที่พัฒนาขึ้นมี 2 ชุดคือ สื่อผ้าภาพพิมพ์สถานการณ์จำลอง และ บัตรคำศัพท์ดิจิทัลที่ใช้บ่อย โดยใช้กิจกรรมแบบสีส่วนร่วมและลักษณะคล้ายเกม  แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นแบ่งเป็นสองส่วนคือแบบปรนัยให้นักเรียนเลือกการโต้ตอบกับสถานการณ์ และแบบอัตนัยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และโต้ตอบสถานการณ์จากรูปภาพด้วยตนเอง  ผลจากการนำสื่อและกิจกรรมไปใช้พบว่า จากการนำแบบประเมินการรอบรู้ดิจิทัลมาใช้ในการประเมินนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม คะแนนความรอบรู้ด้านดิจิทัลรวมทั้งปรนัยและอัตนัยก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคะแนนเฉลี่ยคะแนนรวมทั้งปรนัยและอัตนัย หลังเข้าร่วมกิจกรรม (x̄ = 4.65) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (x̄ = 3.94)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพ:กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19 (1), 11-28.

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 35-43.

ราชบัณฑิตยสภา. (2559). ภาษาไทยภาษาสื่อ. จัดพิมพ์เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2559 พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2559, หน้า 421-460.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). คู่มือการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2562). คุณลักษณะและจิตสำนึกของเด็กยุคดิจิทัลกับการปรับกระบวนทัศน์ใหม่. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 90-100.

Bali, M. (2016). Digital Skills and Digital Literacy: Knowing the Difference and Teaching Both. Literacy Today, 33(4), 24-27.

Genesee, F. (2000). Brain Research: Implications for Second Language Learning. UC Berkeley: Center for Research on Education, Diversity and Excellence. Retrieved from https://escholarship.org/uc/item/58n560k4.

Mitchell, W. E., & Kowalik, T. F. (1999). Creative problem solving. Retrieved from https://www.academia.edu/download/46735233/CPS-Mitchell_Kowalik.pdf.