การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาพื้นฐานการบวก เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ธันวา วัฒนะ
สรวงพร กุศลส่ง
พิชญาภา ตรีวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาพื้นฐานการบวก และทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
2) เพื่อสร้างและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาพื้นฐานการบวกที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาพื้นฐานการบวก ที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 4-5 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านกกไทร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 19 คน เป็นชาย 12 คน หญิง 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ เกมการศึกษาพื้นฐานการบวก จำนวน 4 ชุด และแบบทดสอบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ชุด


ผลการวิจัย: 1) ผลการศึกษาข้อมูล มีองค์ประกอบ 6 ด้านคือ (1) หลักการ 
(2) จุดประสงค์ (3) สาระและกระบวนการ (4) กิจกรรมการเรียนรู้ (5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ (6) การวัดและประเมินผล 2) ผลการสร้างและทดลองใช้รูปแบบ (2.1) ผลการสร้างรูปแบบ มีขั้นตอน (ASPC Model) ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (A: Arrange) ขั้นที่ 2 ขั้นแนะนำ (S: Suggest) ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติ (P: Perform) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป (C: Conclude) (2.2) ผลการหาคุณภาพของ ( = 4.60, S.D. = 0.07) อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (2.3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ โดยภาพรวม ก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าร้อยละเท่ากับ 61.18 ( = 24.47, S.D. = 2.20) หลังการจัดกิจกรรม มีค่าร้อยละเท่ากับ 94.61 ( = 37.84, S.D. = 1.57) 3) ผลการ ศึกษาความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาพื้นฐานการบวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.27)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ กมลสุทธิ. (2555). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กิตติศักดิ์ เกตุนุติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขวัญหทัย สมจิตต์. (2557). การใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน1-5 ของนักเรียนชั้นอนุบาล1. โรงเรียนบ้านหนองแม่แตง (ธรรมศาสตร์อาสา) สพป. กำแพงเพชร เขต1.

เซวง ซ้อนบุญ .(2554). “การพัฒนาเกมการศึกษาเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล.” วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา

นุจิรา เหล็กกล้า. (2561). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางแก้ว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

รุ่งทิพย์ ศรสิงห์.(2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม.

บุญชู สนั่นเสียง. (2557). “การจัดประสบการณ์เพื่อฝึกการสังเกตและการใช้เหตุผลแก่เด็กปฐมวัย,” ในเอกมารการสอนชุดวิชา การเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัย(พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วรรณี วัจนสวัสดิ์. (2554). “การพัฒนาเกมการศึกษาเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล.” วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วราภรณ์ วราหน. (2556). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชญาพร อ่อนปุย.(2562). เอกสารประกอบการสอน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ศรีสวัสดิ์ น่วมจะโป๊ะ. (2559). “การพัฒนาเกมการศึกษาเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล.”วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุภาวิณี ลายบัว. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมใจ ทิพย์ชัยเมธา. (2555). การเล่นและเกมสำหรับเด็กปฐมวัย.ในสื่อการเรียนระดับ ปฐมวัยวัยศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สรวงพร กุศลส่ง. (2552). วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. เพชรบูรณ์: ดีดีการพิมพ์

สรวงพร กุศลส่ง. (2553). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2554). การพัฒนาเกมการศึกษาเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชานุกูลกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.