การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นแบบปฏิบัติ การที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21

Main Article Content

พนายุทธ เชยบาล
อัจฉรา หนูยศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด 2) ศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศ และ3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยผู้เชี่ยวชาญผู้สัมภาษณ์และผู้ตอบแบบสอบถาม เป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม ที่ 1 เป็นผู้ยืนยันองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด และศึกษานิเทศก์ กลุ่มที่ 2 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศจากผู้บริหารสถานศึกษา ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 3 เป็นครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 21 จำนวน 325 คนโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น .988 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า


1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์มีจำนวน 12 ตัวชี้วัดองค์ประกอบการมีความยืดหยุ่นมีจำนวน 8 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบการมีความคิดสร้างสรรค์มีจำนวน 11 ตัวชี้วัด


2. การศึกษาแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศได้องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้ บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เพิ่มอีก 1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการปฏิบัติสู่เป้าหมาย และมีจำนวน 9 ตัวชี้วัด      


3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษพล อัมระนันท์. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่วงศ์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จารุวรรณ สิทธิโชค. (2555). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในเครือข่ายการศึกษาวังจันทร์สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านช้าง.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทาง การศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑา ศิริวงษ์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2546). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Ash, C., & Persall, J. M. (2000). The principals as chief learning officer: Developing teacher leaders. Journal of the National Association of Secondary Schools Principals, 84(616), 1-13.

Biech, E. (1996). Creativity &innovation: The ASTD trainer's sourcebook. New York: McGraw-Hill.

Carson, P. P., & Carson K. D. (1993). Managing creativity enhancement through goal setting and feedback. The journal of Creative Behavior, 27, 36-45.

Locke, E. A., et al. (1991). The essence of leaderships: The four keys leading successfully. New York: Lexcington Books.

Shalley, E. C. (1991). Effects of productivity goals, creativity goals and personal discretion on individual creativity. Journal of Applied Psychology, 76, 179-185.

Sternberg, R. J., & Lubart, T. I. (1993). Creative giftedness: A multivariate investment approach. Gifted Child Quarterly, 37, 7-15