ผลของการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของนักศึกษา หลักสูตรประกาศบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง EF ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา TP15101 จิตวิทยาสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน โดยจัดให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเป็นรายบุคคล จำนวนทั้งสิ้น 21 วัน 21 ผลงาน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการใช้ข้อมูลจากการบันทึกสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง
มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะสมอง EF สูงขึ้น 6 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมี
3 ด้านที่ไม่แตกต่าง 2) นักศึกษาสะท้อนความคิดว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ทุกด้าน
Article Details
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน
References
ณัฏฐณี สุขปรีดี. (2565). การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ในสภาวะวิกฤต. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 65 จาก https://www.eef.or.th/article-executive-functions- 151221/.
ปรียาภรณ์ เจริญบุตร (2557). ได้ศึกษารูปแบบวรรณกรรมและศิลปะ ที่สามารถเสริมสร้างความมั่นคงด้านจิตใจ เพื่อให้เยาวชนตระหนักคุณค่าในตนเอง : กรณีศึกษา ชุมชนวังทอง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 6(6) , 69-83.
ศรีแพร จันทราภิรมย์. (2550). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกำรจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้เปลือกข้าวโพด. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศรี เมฆไพบูลย์วัฒนา. (2551). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร้อยดอกไม้. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภาวดี หาญเมธี. (2560). ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ Executive Functions = EF. กรุงเทพฯ: สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2560.
อรรัตน์ เชาว์กุลจรัสศิริ, แพทย์หญิง, จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์. (2565). EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร? สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 จาก https://www.manarom.com/blog/EF_ Executive_Function.html.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ฉลอง สุนทรนนท์. (2558). ศิลปะสร้างสรรค์พัฒนา(EQ)เด็ก. กรุงเทพ: วาดศิลป์.