การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พิมลพรรณ ศรีภูธร
เอกราช ดีนาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 แห่ง โดยใช้อัตราส่วนระหว่างจำนวนตัวอย่างต่อจำนวนตัวแปร 20 : 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิด จำนวน 15 ตัวแปร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 312 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และองค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis: CFA) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second order confirmatory factor analysis) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์กับข้อมูลเชิงประจักษ์


ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนทั้งสิ้น 15 ตัวแปร โดยตัวแปรมีค่าระหว่าง 1 ถึง 4 โดยมีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 2.84 ถึง 3.42 เมื่อพิจารณาที่ค่าความเบ้ (Skewness) ค่าความโด่ง (Kurtosis) พบว่า ค่าความเบ้ (Skewness) มีค่าอยู่ในช่วง -0.49 ถึง 0.37 ซึ่งมีค่าไม่เกิน ±2 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 (Hair et. al, 2006) และจากการพิจารณาค่าความโด่ง (Kurtosis) ของตัวแปรต่างๆ พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง -1.40 ถึง -0.03 ซึ่งมีค่าไม่เกิน ±2 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (Kline, 2005: 50) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ตัวแปรที่สังเกตได้ทุกตัวในแต่ละด้าน มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่า Chi–Square /df=1.561 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2.00, ค่า GFI=0.952, AGFI=0.929 มีค่ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 0.90 ค่า RMR=0.026 และค่า RMSEA=0.042 โดยมีค่า Factor Loading อยู่ระหว่าง 0.47 ถึง 0.87 จึงสามารถสรุปได้ว่า ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ด้านความรู้การวิจัย (KNO) ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 5 ตัวแปร 2) ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ด้านทักษะการวิจัย (SKI) ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 5 ตัวแปร และ 3) ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักวิจัย ด้านคุณลักษณะและแรงจูงใจ (TRA) ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 5 ตัวแปร 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง, เรขา อรัญวงศ์ และ ปาจรีย์ ผลประเสริฐ (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 86-96.

นิศา ชูโต. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

ปรีดา เบ็ญคาร. (2548). การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนในกระบวนการพัฒนา การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคใต้. ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฏีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548) กลยุทธ์ทางเลือกเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมและสมรรถภาพการวิจัย และประเมินของครูมืออาชีพในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในการขับเคลื่อนสู่โรงเรียนฐานความรู้ : การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:กรุงเทพฯ.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์องค์กร (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ. กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์องค์กร.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี (2561-2580). กรุงเทพฯ. กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์องค์กร.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2550). Career development in practice (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอช. อาร์. เซ็นเตอร์.

Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager: A model for effective performance. New York:John Wiley and Sons.

Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York, NY: GuilfordPress.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for "intelligence." American Psychologist, 28(1), 1–14. https://doi.org/10.1037/h0034092.