ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย -

Main Article Content

Methita Wongkhlongkhuean

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ 5) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาจากแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 คน เป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างตายตัว ระยะที่ 2 องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และร้อยละ ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 341 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .936 และ .942 ตามลำดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้มีจำนวน 7 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล
    มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด 4) องค์ประกอบด้านทักษะเทคโนโลยีมีจำนวน 5 ตัวชี้วัด และ
    5) องค์ประกอบการปฏิบัติอย่างมืออาชีพมีจำนวน 7 ตัวชี้วัด จากการศึกษาแบบปฏิบัติ
    ที่เป็นเลิศ ได้ตัวชี้วัดในองค์ประกอบดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเพิ่มอีก 1 ตัวชี้วัด
    คือ ความสามารถในการเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างอิสระ

  2. 2. ภาวะผู้นำดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  3. 3. การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  4. 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย มีความสัมพันธ์กัน

  5. 5. สมการพยากรณ์การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย โดยใช้ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา
    เป็นตัวแปรพยากรณ์ ได้อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 60.80 โดยมีสมการดังนี้

      สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้


= .1888 + .446(X2) + .226(X5) + .086(X4) 


      สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


 = .572(X2) + .381(X5) + .143(X4) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จตุรงค์ ธนะสีลังกูร.(2558). การบริหารจัดการทางการศึกษา.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จิตรกร จันทร์สุข และ จีรนันท์ วัชรกุล. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สพป. อุดรธานี เขต 3วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15 (2), 36-49.

เซอร์โต.(2549). การจัดการสมัยใหม่ Modern Management (พัชนี นนทศักดิ์,ผู้แปล).แปลจาก Modern Management 9th International Edition. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2563). ภาวะผู้นำทางการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ดวงแข สุขประเสริฐ และ ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สพป. สุพรรณบุรี 3. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 496-511.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่: ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล จันทรสุรวงศ์. (2555). การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกที่มีประสบการณ์ การบริหารงาน และขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เลอศักดิ์ ตามา และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 224-240.

วันชัย ราชวงศ์. (2562). ภาวะผู้นำสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 25-32.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาฯ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจรรยา ขาวสกุล, ธีระรุญเจริญ และ วรสิทธิ์ รัตนวราหะ. (2560). ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3, 138-148. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุวิทย์ ยอดสละ. (2555). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3.

Ehlers, U.D.(2020).Digital leadership in higher education. Journal of Higher Education Policy and Leadership Studies, 1(3), 6 -14.

Krejcie, R.V.,& Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research

macro approach. New York: John Wiley & Sons.

Mishra, S. (2007). Quality assurance in higher education : An introduction.

India:National Assessment and Accreditation Council.