การสำรวจความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาจีน วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Main Article Content

ณัฐฌาภรณ์ เดชราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาภาษาจีน และเป็นแนวทางเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาจีน วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 239 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.7 มีความสนใจ และร้อยละ 45.2 มีความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาจีน วิทยาลัย
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต เพิ่มความรู้ ปรับเงินเดือนและปรับวุฒิการศึกษา หลักสูตร 3 ลำดับแรกที่มีผู้ต้องการศึกษาต่อมากที่สุดคือ 1) สาขาภาษาจีนเพื่อวิชาชีพ 2) สาขาวัฒนธรรมและภาษาจีนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ 3) สาขาการสอนภาษาจีน โดยเน้นการศึกษาและการค้นคว้าอิสระ (แผน ข) ร้อยละ 87.4 เน้นการประยุกต์และการปฏิบัติงานจริง ร้อยละ 22.7 ความคาดหวังต่อหลักสูตรในด้านการศึกษาดูงานและฝึกงานในต่างประเทศ ร้อยละ 55.5 และต้องการที่จะเรียนร่วมกับนักศึกษาชาวต่างชาติร้อยละ 20.7 ส่วนใหญ่ต้องการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรที่ 150,000-200,000 บาท ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 2 ปี เรียนในเวลาราชการ ควรเพิ่มเนื้อหาในส่วนการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระแทนการทำวิทยานิพนธ์
มีโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้กับนักศึกษาชาวจีนและนักศึกษาต่างชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา เพชรดี. (2559). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนิสิต คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล. (2561). ยุทธศาสตร์จีนบนเวทีโลก เล่ม ๒ : ความเคลื่อนไหวในปี พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ณฐปกรณ์ จันทะปิดตา. (2555). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : กรณีศึกษาบุคลากรการศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิตยา กวีนัฎธยานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์ และคณะ. (2556). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ., 13(2).

ลภัสรินทร์ รัตนบุรี. (2558). ความต้องการการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของนักศึกษาปริญญาตรี ในสถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์นครศรีธรรมราช .

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์ และพลอยไพลิน รูปะวิเชตร์ .(2563). การศึกษารูปแบบกิจกรรมของโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ‘TWINCLE Program’ เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลกและนานาชาติให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น.ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่., 4 (1).

ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). แรงจูงใจและความคาดหวังในการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษาของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา. บทความวิชาการ วิทยาลัยนครราชสีมา.