การพัฒนาชุดฝึกทักษะออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างเว็บแอปพลิเคชัน

Main Article Content

ณัฐกานต์ กัณโสภณ
สวนันท์ แดงประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างเว็บแอปพลิเคชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกทักษะของผู้เรียนก่อนและหลังการฝึกทักษะด้วยชุดฝึกทักษะออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างเว็บแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง


ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดฝึกทักษะออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริม ทักษะการสร้างเว็บแอปพลิเคชันได้รับการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน การประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีประสิทธิภาพ 71.87 / 62.07 (KW#3 70/60) สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกทักษะของผู้เรียนด้วยชุดฝึกทักษะออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างเว็บแอปพลิเคชันสูงขึ้นกว่าก่อนฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2560). ปรัชญาการอาชีวศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กฤษฎา พลอยศรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สคริปออนไลน์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565,จากwww.bkkedu.in.th/wp-content/uploads/2020/03/แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ-พ.ศ.-2563-2565-rev.pdf.

กิริยา กุลกลการ. (2561). ส่องเศรษฐกิจ CLMV : ประเด็นเด่นและนัยต่อไทย.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กิตติ เสือแพร, มีชัย โลหะการ และปณิตา วรรณพิรุณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรม. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จารุวรรณ เขียวน้ำชม, สุรีพร อนุศาสนนันท์ และไพรัตน์ วงษ์นาม. (2560). รูปแบบแนวคิดทางทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุของการเรียนรู้แบบนำตนเอง. วารสารสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1.

จีระศักดิ์ เลพล และสุทธพริ บุญส่ง. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการฝึกเจริญสติแบบไหวนิ่งเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิติกร โกศลกิจ. (2550). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เครื่องกลึงวิทยานิพนธ์ครุศาสตร์. อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการศึกษานอกระบบโรงเรียนผ่านเว็บตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเองและแบบใช้ทรัพยากรเป็นฐาน

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศและการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาน สุวรรณรักษ์. (2557). ชุดฝึกทักษะบนเว็บด้วยการสอนแบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะครุศาตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิชัย ถนอมสวย. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งเสริมการอ่านโดยใช้เทคนิค SQ-3R ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Sharon K. Andrews. (2022). “A Model for Motivation-Driven Assignment Design.”[Retrieved Aug 12,2022 from https://www.igi-global.com chapter/a-model-for-motivation-driven-assignment-design/304706.

Will Baxter. (2019). An exploratory study of self-directed learning readiness and pedagogical expectations about learning among adult inmate learners in Michigan Michigan State University ProQuest Dissertations Publishing.