ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม: ปัญหาและการช่วยเหลือ

Main Article Content

วิชา ขันติบุญญานุรักษ์
ชนิดา มิตรานันท์

บทคัดย่อ

ช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหากับการแพร่บาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนปรับเปลี่ยนไป นักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้ โรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเดิม นับได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนครั้งใหญ่ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษก็ได้รับผลกระทบเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน โดยเฉพาะนักเรียนในโรงเรียนเรียนรวมที่นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนทั่วไป ทำให้ครูผู้สอนมุ่งเน้น และทุ่มสรรพกำลังส่วนใหญ่สอนให้กับนักเรียนทั่วไป ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอาจได้รับความสนใจน้อยลง อาจส่งผลให้เกิดการพัฒนาไม่เต็มศักยภาพสมวัย และด้วยสถานการณ์ที่ยาวนานเกือบ 2 ปี จึงทำให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษประสบปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้ ความรู้ที่มีถดถอยหรือลืมไป ความสามารถที่เคยทำได้กลับทำได้น้อยลง โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นที่ต้องกลับหันมาให้ความสนใจกับภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อมุ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้สมวัย พัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละคน ให้สามารถเป็นคนที่มีคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาของสังคมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. (2564). ปีแห่งการเรียนรู้ที่สูญหายของเด็กพิการในช่วงโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, https://thisable.me/content/2021/02/690.

ธนัชชา สู่คง และ ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์. (2564). กรณีศึกษาการจัดการเรียนการสอนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วงที่โควิด-19 ผ่อนคลายของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 10(1): 93-108.

ปวรินทร์ พันธุ์ติเวช. (2565). ก้าวต่ออย่างไร เมื่อเด็กไทยเรียนรู้ถดถอยจากการปิดโรงเรียนช่วงโควิด?. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จาก https://www.the101.world/ kid-for-kids-learning-loss.

ปาริชาติ โชคเกิด. (2565). ผลสำรวจพบ โควิดทำเด็กแย่ ขาดทักษะพื้นฐานทั้ง อ่าน เขียน เข้าสังคม. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565, จาก https://brandinside.asia/covid-make-kids-struggle-to-learn.

ภรณี ลัคนาภิเศรษฐ์. (2563). COVID-19 กับการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565, จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/360.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบหลัง COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, จากhttps://workpointtoday.com/ education-covid-19-4.

ภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2564). "ภูมิสรรค์" เผย คุณหญิงกัลยาเป็นห่วงเด็กพิเศษ สั่งช่วยเหลือทั้งการเรียนและคุณภาพชีวิต ย้ำความปลอดภัยเด็กสำคัญ พร้อมเดินหน้านโยบายเร่งด่วน. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565, จาก https://www.ryt9.com/s/prg/3239575.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2565, จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning- in-covid-19-pandemic.

วาทินี อมรไพศาลเลิศ. 2563. เทคนิคพิเศษการสอนออนไลน์ ช่วง COVID-19 สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://www. chula.ac.th/news/31541.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). Learning Loss ภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, จาก https://research.eef.or.th/ learning- loss-recession.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2565). การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 : สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://opac01.stou.ac.th/multim/Gift_eBook/167260.pdf.

สำนักมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี. (2564). ครูบรูไนย้ำเด็กทั่วไปและเด็กพิเศษต้องไม่ตกหล่นการเรียนรู้ ครูคือคนสำคัญ ผู้ปกครองคือพลัง. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565, จาก https://www.pmca.or.th/thai/?p=10993.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. (2564). กรมอนามัย ห่วง กลุ่มเด็กพิเศษ ขาดทักษะป้องกันโควิด-19 แนะพ่อแม่ดูแลใกล้ชิด. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/080564.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์,15(3): 33-42.

Wei Bao. (2020). COVID-19 and online teaching in higher education: A case study of Peking University. Hum Behav & Emerg Tech, 2020(2): 113–115.