ผลการฝึกเอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

apiwat panthong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการฝึกรูปแบบ เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องตัวของ นักกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักกีฬาฟุตบอลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน ทดสอบความคล่องตัวโดยใช้แบบทดสอบของอิลลินอยส์ ทั้งก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 การเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบหาค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำแล้วทำการหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. กลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. กลุ่มควบคุม ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือการฝึกกีฬาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :ห้างหุ้นส่วนจำกัดอารต์โปรเกส

จีรนันท์ โพธ์เจริญ. (2549). ผลของการฝึกรูปแบบ เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬา เนตบอล. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จีรวัฒน์ เย็นใส. (2554). ผลการฝึก เอส เอ คิว ที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2545). หลักการและเทคนิคการฝึกกรีฑา. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เทิดทูล โตคีรี. (2561). ผลการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึก เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลระดับอุดมศึกษา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 24 (2), 70 – 83

ผาณิต บิลมาศ. (2530). การวัดทักษะกีฬา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มงคล แฝงสาเคน. (2545). การฝึกฟุตบอล. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

สกายบุ๊คส์. (2545). ฟุตบอล (ฉบับปรับปรุงกติกา FIFA ล่าสุด). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์

สารัช ดีงาม. (2554). ผลการฝึก เอส เอ คิว ที่มีต่อความสามารถในกีฬาฟุตซอล.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Hale, J. (2004). Quickness Training. Retrieved November 21, 2020, from: https://www.brianmac.co.uk/articles/scni11a5.htm